เยียวยาภาวะซึมเศร้าของคุณแม่ Full Time

Last updated: 20 ต.ค. 2565  | 

 

ถึงแม้ว่าข้อดีของการออกมาเป็นคุณแม่เต็มเวลา จะทำให้เราได้ใช้ช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดในช่วง 3 ปีแรกกับลูก ได้ใกล้ชิดกับลูกและมีเวลามากพอที่จะบ่มเพาะให้เขาเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่มีคุณภาพ รู้จักการรักตัวเอง การเคารพผู้อื่น และสามารถใช้ชีวิตต่อไปในสังคมได้อย่างมีความสุข

แต่ช่วงแรกของการเป็นคุณแม่ Full Time ถือเป็นช่วงที่ยากพอสมควร ด้วยความเป็นคุณแม่มือใหม่ด้วย ต้องเลี้ยงลูกไปด้วยและทำงานบ้านไปด้วย อีกทั้งยังต้องเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมออกมาเป็นแม่บ้าน ทำให้สังคมจากที่เคยเป็นเปลี่ยนไป และยังรวมไปถึงฮอร์โมนที่ลดลงของคุณแม่เองด้วย ทำให้การเป็นคุณแม่ Full Time กลายเป็นอีกงานหนึ่งที่ยากมาก สำหรับคุณแม่มือใหม่

โดยเฉพาะการต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ทั้งความรู้สึกกังวลว่าจะไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองและลูกได้ดี มีอารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล รู้สึกทุกข์ใจอย่างมาก รวมไปถึงอาการ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิ

 

::: เมื่อต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า คุณแม่จะมีทางออก หรือรับมือกับภาวะซึมเศร้าของตัวเองได้ยังไงบ้าง


  ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 15-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน จะช่วยเพิ่มสารเอนโดฟินส์ในร่างกาย ช่วยเพิ่มพลังงานในชีวิต และยกระดับอารมณ์ให้สูงขึ้น

  ทำสิ่งที่เรารัก คุณแม่ลองหากิจกรรมที่เราเคยชอบ เพื่อช่วยดึงความสนใจออกจากความคิดด้านลบของเรา พอเราใช้เวลาจดจ่ออยู่กับอยู่กับกิจกรรมนั้นจะสามารถช่วยลดความเครียด และลดเวลาที่ใช้ไปกับการวิตกกังวล

  ฝึกรักตัวเอง คุณแม่ต้องพยายามใจดีกับตัวเองบ้าง ชมตัวเองในทุกความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ และแอบให้รางวัลตัวเองบ้างเช่น กินของอร่อย

  ฝึกสมาธิ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ถึงแม้จะทำวันละไม่กี่นาที แต่การฝึกสมาธิก็สามารถช่วยปรับสมดุลชีวิต ช่วยผ่อนคลายความเครียดและทำให้เรารู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้

  เพื่อนที่ซัพพอร์ต ต้องเป็นเพื่อนที่รับฟังเราอย่างจริงใจ ไม่ตัดสินเรา ให้คุณแม่ระบายสิ่งที่แบกรับไว้คนเดียวให้กับคนอื่นฟังบ้าง เพื่อนจะสามารถช่วยเรารับมือกับความเครียดและความเจ็บปวดทางใจเราได้

  รักษากับผู้เชี่ยวชาญ คุณแม่อาจจะเจอกับภาวะที่หนักเกินกว่าจะรับมือได้ จึงจำเป็นต้องพบผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำที่ดีและตรงกับอาการ

  ขอส่งกำลังใจให้คุณแม่ Full Time ทุกคนนะคะ ขอให้มีความสุขได้กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อยู่เฝ้ามองพัฒนาการของลูกที่ค่อยๆเติบโต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้