Last updated: 26 ก.ย. 2565 |
แม้ว่าความสุขจะเป็นสิ่งที่ไม่คงอยู่ตลอดไป แต่การอิ่มเอมกับช่วงเวลาของความสุข ก็ทำให้เรามีพลังใจในการใช้ชีวิตเพื่อตัวเอง และคนที่เรารักต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าความสุขที่ว่านี้ เราสามารถออกแบบได้ด้วยตัวเอง ถ้าเรารู้จักกับ “D.O.S.E : ฮอร์โมนแห่งความสุข”
โดพามีน (Dopamine) ฮอร์โมนรู้สึกดี
เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเวลาที่เรารู้สึกดี หรือทำอะไรได้สำเร็จ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยในชีวิตประจำวันก็ตาม เช่น ทำงานเสร็จทันเวลา ได้กินอาหารที่ชอบ น้ำหนักเริ่มลดลง เมื่อเกิดความพึงพอใจในสิ่งหนึ่ง สมองจะหลั่งสารโดพามีนทำให้เรามีความสุขได้
กิจกรรมกระตุ้นโดพามีน
· การตั้งเป้าหมายและทำให้สำเร็จ เมื่อเรามีเป้าหมาย เราก็จะอยากทำมันให้สำเร็จ และถ้าเราทำสำเร็จ เราก็จะอยากตั้งเป้าหมายใหม่ๆ และถ้าเราบรรลุเป้าหมายได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้รับแรงผลักดันจากเป้าหมายต่อไปมากขึ้น
·. ออกกำลังกาย นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว เรายังได้รูปร่างที่ดีและเมื่อเราพึงพอใจในรูปร่าง จะยิ่งทำให้ฮอร์โมนนี้หลั่งเพิ่มขึ้น
ออกซิโตชิน (Oxytocin) ฮอร์โมนแห่งความรัก
เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เราสร้างสายใยระหว่างตัวเองกับคนรอบตัว ทำให้เกิดความผูกพัน ความรู้สึกดี ไม่ว่าจะเป็นความรักกับคู่รัก ความรักที่แม่มีให้กับลูก เจ้าฮอร์โมนนี้จะทำให้เราอารมณ์ดี หัวเราะง่าย มีความมั่นใจในตัวเอง เชื่อใจคนอื่น มองโลกในแง่ดี และสนุกกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เป็นหนึ่งฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเราอย่างมาก
กิจกรรมกระตุ้นออกซิโตชิน
·. การกอด ช่วยให้รู้สึกปลอดภัย
· การจับมือ ช่วยให้รู้สึกสบายใจ
· การอุ้ม ช่วยให้รู้สึกเชื่อใจ
เซโรโทนิน (Serotonin) ฮอร์โมนกระตุ้นความสุข
ถือเป็นตัวกำหนดสารเคมีในร่างกายที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่งเลย เจ้าฮอร์โมนนี้จะควบคุมความอยากอาหาร ความจำ อารมณ์ แล้วก็ความต้องการทางเพศ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนนี้จะหลั่งตอนที่เราคิดถึงความสำเร็จ คิดถึงความทรงจำในอดีต หรือการที่เรารู้สึกเป็นคนสำคัญ นอกจากนั้นฮอร์โมนเซโรโทนิน ยังช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ด้วย
กิจกรรมกระตุ้นเซโรโทนิน
· รับแสงแดดยามเช้าซัก 20 นาที
· การกินกล้วย
เอ็นโดรฟิน (Endorphin) ฮอร์โมนลดอาการเจ็บปวด
เป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดอาการปวดของร่างกาย ช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ และเพิ่มความต้านทานให้ร่างกาย ทำให้เราทนต่อความเจ็บปวดหรือเมื่อยล้าได้ นอกจากนั้นยังช่วยลดความเจ็บปวดทางใจได้ด้วย สำหรับคนที่มีปัญหาทางใจและทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะหลั่งเอ็นโดรฟินออกมาเพื่อลดความเจ็บปวดของร่างกาย ทำให้ความเจ็บปวดทางใจลดลงไปด้วย
กิจกรรมกระตุ้นเอ็นโดรฟิน
· หัวเราะดังๆ เพราะกล้ามเนื้อที่ขยับจากการหัวเราะ ผลิตเอ็นโดรฟินได้อย่างดี
· ออกกำลังกายทุกชนิด
· โยคะและทำสมาธิ จะช่วยลดความเครียดและเพิ่มระดับเอ็นโดรฟินได้ด้วย
การดูแลสุขภาพไม่ใช่เพียงการดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงเท่านั้น แต่การดูแลสุขภาพใจ และสร้างสมดุลทางความคิด ความรู้สึก เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้สุขภาพดี และมีความสุขอย่างยั่งยืนค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.mindspringconsulting.com/2021/01/18/happiness-hormones/
4 พ.ย. 2567
13 ต.ค. 2567
25 ต.ค. 2567
14 พ.ย. 2567