Last updated: 6 ต.ค. 2565 |
เกิดเป็นกระแสดราม่าขึ้นมาสำหรับคำว่า “ค่าน้ำนม” เอย “มีแม่เมื่อพร้อม” เอย และยังมีแฮชแท็ก “30ล้าน” ทำให้สังคมเกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันยกใหญ่ในเรื่องที่ว่ามีลูกเพื่อตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ หรือแม้แต่เป็นที่พึ่งพายามแก่ว่า สมควรแล้วหรือที่จะยังมีแนวคิดแบบนี้ส่งต่อไปยังอีกเจเนอเรชั่นของลูกๆเราต่อไป
และเราก็ได้ตั้งคำถามต่อไปว่า แล้วพ่อแม่ที่สังคมปัจจุบันยอมรับได้นั้นควรจะมีแนวคิดและปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง ออกตัวก่อนว่า ขึ้นต้นคำว่า ในอุดมคติ ไม่ได้มีอยู่จริงๆ เด็กแต่ละคนมีความต้องการที่ต่างกัน และไม่มีคำว่า “พ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบบนโลกใบนี้” แต่มีบางสิ่งที่พ่อแม่จำเป็นต้องใส่ใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเลี้ยงดูลูก
จิตวิทยาเด็ก (Child psychology)
การศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กมากขึ้นทำให้พ่อแม่ได้เข้าใจว่าการบอกการสอนลูกต้องค่อยพูดค่อยจา ไม่ใช้อารมณ์หรือสร้างความรู้สึกด้านลบให้กับลูก เพราะกระทบต่อความสัมพันธ์ในระยะยาว ไม่ส่งผลดีกับใครเลย ในทางกลับกัน ควรใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ ให้ลูกและเราใจเย็นจึงเริ่มพูดคุย เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด
พ่อแม่ที่ไม่ใช้ความรุนแรง (Say NO to all types of violence)
คำว่า รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตีที่คนในอดีตเคยยอมรับ ทุกวันนี้คือความรุนแรง การใช้อำนาจเกินขอบเขต และสามารถสร้างบาดแผลที่ลึกที่สุดในชีวิตของเด็กคนหนึ่ง การพูดคุยปรับความเข้าใจเป็นวิธีที่อาจจะได้ผลช้า และสร้างความเหน็ดเหนื่อยมากกว่าการใช้กำลังและสร้างความกลัว แต่จะไม่สร้างประสบการณ์เลวร้ายให้ลูกอย่างแน่นอน
ลูกคือพลเมืองของโลก (Little world citizens)
การไปเที่ยวเมืองนอกเหมือนจะกลายเป็นเรื่องง่าย และง่ายกว่านั้นคือการท่องโลกอินเตอร์เน็ต เด็กยุคอัลฟ่าจึงเห็นโลกมากกว่ายุคอื่นๆ และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมากมาย เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพวกเขา ขอเพียงพ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของเด็กๆและสอนให้มีวิจารณญานในการรับสารต่างๆ
ลูกมีชีวิตเป็นของตัวเอง (Right to be happy)
เมื่อลูกเกิดมา เขามีความคิดเป็นของตัวเองแล้ว เขามีสิทธิ์เต็มที่ที่จะมีความสุขในแบบของเขาตราบเท่าที่ไม่ผิดศีลธรรมของสังคม พ่อแม่จึงควรเป็นฝ่ายสนับสนุนให้ลูกได้พบกับความสุขของตัวเขาเพราะเราอยู่กับเขาได้ไม่นาน แต่สิ่งที่เขาชอบและมีความสุขกับมันจะอยู่กับเขาไปตลอดชีวิต
ไอเดียไม่กี่ข้อเป็นตัวอย่างของพ่อแม่ที่เราเชื่อเหลือเกินว่าสังคมในยุคนี้ต้องการ… เด็กในยุคนี้ต้องการ แล้วคุณพร้อมจะปรับตัวเพื่อเข้าใจลูก และเพื่อความสุขของลูกหรือเปล่า
พักสายตา ฟังบทความนี้ใน Audiobook คลิกเลยค่ะ
13 ต.ค. 2567
3 ต.ค. 2567
25 ต.ค. 2567
4 พ.ย. 2567