Last updated: 3 เม.ย 2565 |
ซึมเศร้าหลังคลอด อันตราย... แต่ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญ
Baby Blue หรือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกได้ถึง 30-75% อาการที่เห็นได้ชัดคือ ซึมเศร้า เสียใจ วิตกกังวล และอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเลี้ยงลูกหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เราไปทำความรูัจักกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดกันค่ะ
Baby Blue หรือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกได้ถึง 30-75 % ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่บางคนอาจต้องเผชิญหลังคลอดบุตร โดยอาจมีอาการซึมเศร้า เสียใจ วิตกกังวล และอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถเลี้ยงลูกหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
หากมีอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม และหากมีอาการรุนแรงอย่างหลอน มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือลูกน้อย หรือแม้แต่คิดฆ่าตัวตาย คนรอบข้างควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมักเกิดขึ้นในช่วงปีแรกหลังจากคลอดบุตร โดยอาการที่มักพบได้ มีดังนี้
- รู้สึกเศร้า เสียใจ หมดหวัง
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โกรธง่าย หรืออยู่ไม่สุข
- วิตกกังวลมากผิดปกติ
- มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนหลับมากผิดปกติ นอนไม่หลับ เป็นต้น
- ร้องไห้มากกว่าปกติ หรือร้องไห้อย่างไม่มีเหตุผล
- มีปัญหาเรื่องสมาธิ การจดจำรายละเอียด หรือการตัดสินใจ
- หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบหรืองานอดิเรก
- รับประทานอาหารน้อยลง หรือรับประทานมากขึ้นอย่างผิดปกติ
- มีปัญหาสุขภาพโดยไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน เช่น ปวดศีรษะบ่อย ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เป็นต้น
- เก็บตัว หรือหลีกเลี่ยงการพบเจอเพื่อนและคนในครอบครัว
- มีปัญหาในการสร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูก
กังวลไปว่าตนเองไม่มีความสามารถในการดูแลลูกอยู่บ่อย ๆ
- มีความคิดทำร้ายร่างกายตัวเองหรือลูกน้อย
คุณแม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดควรไปพบแพทย์หากอาการข้างต้นไม่หายไปภายใน 2 สัปดาห์ มีอาการรุนแรงขึ้น หรืออาการเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อการดูแลลูกน้อยและการใช้ชีวิตประจำวัน และควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุดหากคุณแม่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองและเด็ก โดยคนใกล้ชิดควรช่วยดูแลเด็กชั่วคราว เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายต่อตัวแม่และเด็กได้
คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โดยดูแลสุขภาพกายใจให้ดีอยู่เสมอ เพื่อช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและความเครียดที่อาจเกิดขึ้นหลัังจากคลอดบุตร ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาหรือสมุนไพรชนิดใดก็ตาม
- หาเวลาพักผ่อนระหว่างวันบ้าง โดยขอให้คุณพ่อหรือคน ใกล้ชิดช่วยดูแลลูกในช่วงที่คุณแม่งีบหลับ
- หากเคยเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนตั้งครรภ์ หรือหากพบว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ควรรีบแจ้งแพทย์ทันที ซึ่งในระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จะติดตามอาการและสัญญาณของภาวะซึมเศร้าอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดปกติแพทย์จะเริ่มทำการรักษาทันที เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น
- หลังจากคลอดบุตรแล้ว คุณแม่ที่คิดว่าตนเองมีภาวะนี้หรือเคยมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังคลอดแต่เนิ่น ๆ เพื่อประเมินอาการและสัญญาณของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพราะยิ่งตรวจพบและเข้ารับการรักษาเร็วเท่าใดก็ยิ่งส่งผลดีมากขึ้นเท่านั้น
ที่มา: https://bit.ly/3oZgvxc
พักสายตา ฟังบทความนี้แบบ Audiobook คลิกเลยค่ะ
9 ต.ค. 2567
14 พ.ย. 2567