9 วิธีดูแลตัวเองในคุณแม่เกินวัย ปลอดภัยทั้งแม่และลูก

Last updated: 1 ส.ค. 2567  | 

9 วิธีดูแลตัวเองในคุณแม่เกินวัย
ปลอดภัยทั้งแม่และลูก

จากผลสำรวจบทความที่ MOMSTER นำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง ปรากฎว่าเรื่องสุขภาพของคุณแม่ๆ ได้รับความนิยมสูงสุด โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่เกินวัยที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ซึ่งพบมากในสังคมปัจจุบันที่ผู้หญิงจะมีลูกช้า เพราะต้องใช้เวลาสร้างฐานะความมั่นคงก่อนที่จะสร้างครอบครัว

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุมากกว่า 35 ปี จึงต้องดูแลสุขภาพเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและลูกมากกว่าท้องสาว

MOMSTER นำ เคล็ดลับ 9 วิธีดูแลตัวเองในคุณแม่เกินวัย เพื่อเป็นแนวทางให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูกมาฝากแล้วจ้า

1.  ปรับการดื่มและการรับประทาน

น้ำเปล่าคือ เครื่องดื่มที่แสนวิเศษ
รองลงมาคือ น้ำผลไม้สด

หลีกเลี่ยง
1. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ส่งผลให้เกิดอาการตาค้าง นอนไม่หลับ
2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่อทารกในครรภ์ได้ และทำให้แม่ๆ ปวดปัสสาวะบ่อยๆ เมื่อร่างกายขับน้ำออกมามาก ย่อมไม่ดีต่อสุขภาพทั้งตัวแม่และลูกด้วย

2.  ทาน “กรดโฟลิก”
ช่วยแม่และลูกแข็งแรง
กรดโฟลิก
ทำให้อวัยวะของเด็กในครรภ์แข็งแรงและเติบโตสมบูรณ์
หลังคุณแม่ฝากครรภ์เรียบร้อย คุณหมอจะจัดยาที่มี กรดโฟลิก ให้แก่คุณแม่มารับประทานเป็นประจำ แต่ถ้าเลือกจะรับประทานเป็นอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง แนะนำให้เลือกเป็นผักใบเขียว แครอท หน่อไม้ฝรั่ง ถั่ว และกล้วย ที่จะอุดมไปด้วยกรดโฟลิกจำนวนมาก

3. พบแพทย์สม่ำเสมอ เช็กสุขภาพแม่และลูกในครรภ์
ตรวจเลือด 

ตรวจอัลตร้าซาวด์
ตรวจปัสสาวะ
การเจาะน้ำคร่ำ 

ตรวจหาความผิดปกติต่างๆ
แพทย์นัดดูสุขภาพของทั้งคุณแม่และเด็กน้อยในครรภ์ เพื่อให้รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของทารกในครรภ์มารดา พร้อมการตรวจเลือด ตรวจอัลตร้าซาวด์ ตรวจปัสสาวะ การเจาะน้ำคร่ำ และการตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ที่จะทำให้คุณแม่รู้ทันก่อนที่ลูกน้อยจะเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรม หรือภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ



4. ทานอาหารคุณภาพครบ 5 หมู่
ย่อยง่าย ไฟเบอร์สูง
อาหารคือส่วนสำคัญของชีวิตทั้งแม่และเด็ก คุณแม่วัย 35 ปี ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นเป็นอาหารย่อยง่าย มีไฟเบอร์ทุกมื้อ เพื่อลดอาการท้องอืด ท้องผูก และท้องเฟ้อ เพราะคนท้องจะเสี่ยงต่ออาการเหล่านี้ได้มาก

หลีกเลี่ยง
รับประทานน้ำตาล โซเดียม และไขมันเสียที่สูงเกินไป

 

5. ปรึกษาแพทย์ก่อนทานยาอื่น
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หากป่วยเป็นโรคเรื้อรังหรือป่วยเพียงเล็กน้อย แต่ต้องทานยาอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานเสมอ หรือแม้แต่การทานอาหารเสริม ควรงดไปก่อน หรือปรึกษาแพทย์ดูว่าสามารถทานได้หรือไม่ และจะส่งผลเสียหรือผลข้างเคียงใดๆ ต่อทารกในครรภ์มาก-น้อยแค่ไหน

6.  ออกกำลังกายเบาๆ ตามแพทย์แนะนำ
สาววัย 35 ปี ++ เป็นวัยทำงาน มักไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน การออกกำลังกายจึงเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายและหลับได้สบายยิ่งขึ้น แต่ควรเป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเล่นพิลาทิสบอล ซึ่งเป็นการออกกำลังกายไปพร้อมกับการทำสมาธิ ช่วยฝึกการหายใจเพื่อปรับสมดุลให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ ส่งผลดีต่อลูกในครรภ์เป็นอย่างมาก

7. เติมสีสันสร้างความบันเทิง เพิ่มชีวิตสดใส
การอุ้มท้องไปทำงานเหนื่อยและเครียดเหมือนกัน อาจลามไปถึงลูกในท้อง ลองแบ่งเวลาสักชั่วโมงอาบน้ำ ฟังเพลง ดูหนังซีรีส์เบาๆ ก่อนทำงานบ้าน หรือในวันหยุดสุดสัปดาห์ “เติมสีสันความบันเทิง” ด้วยการออกไปช้อปปิ้ง ดินเนอร์กับสามีเพลินๆ เพิ่มชีวิตสดใสให้เราและลูกในท้องได้เหมือนกัน

8. 8 ชั่วโมงแห่งการพักผ่อนดีต่อแม่และลูก
การออกกำลังกายเบาๆ ในแต่ละวัน ช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้อย่างเต็มอิ่ม เวลาคุณภาพ 6-8 ชั่วโมง จะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้คุณแม่แข็งแรง และส่งตรงไปยังสายเลือดที่อยู่ในครรภ์ เมื่อคลอดร่างกายของลูกน้อยก็จะเจริญเติบโตสมวัย สุขภาพดีไปพร้อมกับคุณแม่ๆ ค่ะ

9.  10-12 กก. น้ำหนักคุณภาพของแม่
สาววัย 35 ปี++ มักมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว ยิ่งเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยแล้วก็ยิ่งหิวคูณสอง ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นรวดเร็ว ฉะนั้น คุณแม่ควรประคองน้ำหนักตัวให้เพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม ซึ่งอยู่ในมาตรฐาน หากไม่ระวังจะทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคครรภ์เป็นพิษอีกด้วย

ปัญหาของคุณแม่วัย 35 ปี ++ มีความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งแม่และลูกในครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ รวมถึงโรคต่างๆ ได้เร็วกว่าปกติ แต่ถ้าแม่ทำตาม 9 วิธีดูแลตัวเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เสมอ ลูกน้อยก็จะออกมาลืมตาดูโลกได้อย่างปลอดภัยและแข็งแรงอย่างแน่นอน
 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้