รับมืออย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในห้องคลอด

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้คุณต้องเข้าสู่ขั้นตอนการคลอดในช่วงที่สอง ทั้งที่ร่างกายของคุณยังไม่พร้อม เช่น คุณอาจต้องเบ่งท้องคลอด ทั้งที่ปากช่องคลอดยังไม่เปิดดีนัก และอีกหลายอาการที่ทำให้ช่วงเวลาเจ็บท้องคลอดของคุณช่างแสนทรมานเหลือเกิน คุณควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

-ผ่อนลมหายใจเข้าออกให้ได้จังหวะกับการหดรัดตัวของมดลูก 

-คอยฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ



คุณหมอจะจัดการอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น

โดยส่วนใหญ่แล้ว การคลอดจะเป็นไปตามขั้นตอนตามธรรมชาติของมันเอง แต่การที่คุณได้รู้ถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ ก็จะช่วยให้คุณสามารถเผชิญกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก

-ถ้าคุณมีอาการเจ็บท้องคลอดนานมากแล้ว ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะคลอดเสียที ในกรณีนี้ หากคุณต้องการความช่วยเหลือ คุณอาจขอให้คุณหมอใช้ยาเร่งคลอดกับคุณก็ได้

-ถ้าอัตราการเต้นของหัวใจของเด็กมีจังหวะที่ช้าลง คุณหมอจะแจ้งว่าลูกน้อยของคุณกำลังอยู่ในสภาวะที่เป็นอันตราย คุณหมออาจช่วยให้น้ำคร่ำแตกออกมาเพื่อเช็กดูว่ามีเมโคเนียมปนอยู่ด้วยหรือไม่ เมโคเนียมเป็นของเสียที่ลูกของคุณจะถ่ายออกมาเป็นครั้งแรก ซึ่งถ้าหากถ่ายในระหว่างการคลอดอาจใช้ในการสันนิษฐานได้ว่าเขากำลังอยู่ในสภาวะที่เป็นอันตราย

-ถ้าการเบ่งท้องไม่ได้ช่วยให้การคลอดดำเนินต่อไปได้มากเท่าไรนัก หรือลูกของคุณกำลังอยู่ในสภาวะที่เป็นอันตราย คุณหมออาจใช้เครื่องมือช่วยในการทำคลอด เช่น คีม ที่มีลักษณะคล้ายที่คีมหนีบอาหาร คุณหมอจะสอดเข้าไปในช่องคลอดและหนีบศีรษะของเด็กไว้ แล้วดึงออกมา นอกจากนี้ก็มีเครื่องสุญญากาศใช้ดูดบริเวณส่วนหัวของเด็กแล้วดึงออกมาเช่นกัน

-มีคุณแม่บางรายที่ไม่สามารถคลอดรกได้เอง และต้องอาศัยการผ่าตัดย่อยนำเอารกออกมา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และเลือดตก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้