Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
สัปดาห์ที่ 3
ไชโย...คุณตั้งครรภ์แล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จะพลุ่งพล่านในร่างกายของคุณเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าตัวน้อยที่กำลังจะเติบโต
สัปดาห์ที่ 4
เตรียมรับมือกับความอ่อนล้า และอาการเจ็บเต้านมได้เลย ในตอนนี้เจ้าตัวเล็กมีขนาดเท่กับเมล็ดงาแล้วนะ
สัปดาห์ที่ 7
ร่างกายจะสร้างเมือกเพื่อปิดบริเวณปากมดลูก (Mucus Plug) และจะทำหน้าที่ปิดปากมดลูกไว้จนกว่าจะถึงกำหนดคลอด โดยตอนนี้เจ้าตัวน้อยมีขนาดเท่าลูกบลูเบอร์รี่ และอวัยวะบนใบหน้ากำลังเริ่มพัฒนา
สัปดาห์ที่ 9
พยายามยามนอนหลับให้มากที่สุดในแต่ละวัน หากคุณหรือสามีมีประวัติการเจ็บไข้ได้ป่วยที่กังวลว่าอาจจส่งผลถึงลูกในครรภ์ควรแจ้งให้แพทย์ทราบในระยะนี้
สัปดาห์ที่ 26
ระบบประสาทของลูกมีพัฒนาการมากขึ้น ทำให้ลูกมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นเช่นกัน
สัปดาห์ที่ 28
พูดคุยกับแพทย์เรื่องการเจ็บท้องว่าแบบไหนคือเจ็บหลอก เจ็บจริง และเจ็บท้องแบบไหนควรรีบไปโรงพยาบาล
สัปดาห์ที่ 29
ทารกเริ่มกลับหัว ควรสังเกตอาการที่อาจเป็นสัญญาณการคลอดก่อนกำหนด เช่น ปวดท้องเหมือนปวดประจำเดือน ปวดหลังช่วงล่าง หรือมีของเหลวสีชมพูหรือน้ำตาลอ่อนออกมาจากช่องคลอด
สัปดาห์ที่ 31
เต้านมเริ่มผลิตหัวน้ำนมหรือคอเลสตุ้ม ทารกในครรภ์มีขนาดเท่าผลฟักทองและมีเล็บมือแล้ว
สัปดาห์ที่ 35
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างสม่ำเสมอ เพราะร่างกายของลูกจะนำแคลเซียมของคุณไปสร้างกระดูกเพื่อการเจริญเติบโต ในช่วงนี้แพทย์อาจนัดตรวจสารน้ำจากช่องคลอด เพื่อหาเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโต คอกคัส กลุ่ม B เพื่อป้องกันการติดเชื้อไปสู่ทารกในขณะคลอด
สัปดาห์ที่ 36
ใกล้จะได้เห็นหน้าลูกสักที ตั้งแต่สัปดาห์นี้แพทย์มักจะนัดตรวจสัปดาห์ละครั้งไปจนถึงวันคลอด
สัปดาห์ที่ 37
ข่าวดี....ท้องของคุณจะไม่ใหญ่ไปมากกว่านี้อีกแล้ว
9 ต.ค. 2567
14 พ.ย. 2567