Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
คุณแม่ทั้งหลายเคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่า พอคลอดลูกเสร็จแล้ว ทำไมไม่แล้วกัน เหตุใดหมอจึงต้อง นัดมาตรวจหลังคลอดด้วย ทั้งๆที่ก็ไม่ได้มีอาการผิดปกติอะไร สบายดี กินอิ่ม นอนหลับได้ น้ำนมเยอะ ลูกดูดนม ดี แล้วทำไมหมอจึงต้องนัดมาตรวจอีกนะ วันนี้หมอจะมาไขข้อข้องใจ เพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นและความ สำคัญของการมาตรวจหลังคลอดกันนะคะ
โดยปกติแล้วถ้าระหว่างตั้งครรภ์จนคลอดไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคใดๆ หมอก็จะนัดมาตรวจที่ 6 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้ามีความผิดปกติเช่น ไทรอยด์ โรคหัวใจ มีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูง แทรกซ้อน รวมไปถึงเบาหวานทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น หมอก็อาจจะนัดมาตรวจ ก่อน 4 สัปดาห์ เพื่อ นัดมาดูอาการ ดูเรื่องความดัน หรือตรวจน้ำตาลหลังคลอดด้วย ซึ่งถ้ามีความผิดปกติ ก็จะได้ส่งปรึกษาคุณหมอ อายุรกรรม เพื่อดูแลต่อไปค่ะ
สิ่งที่หมอจะตรวจเมื่อคุณแม่มาพบหมอเพื่อตรวจหลังคลอด เพื่อให้คำแนะนำมีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
ชั่งน้ำหนัก
ก่อนอื่นก็ต้องมีการชั่งน้ำหนักกันก่อน ซึ่งโดยปกติทั่วๆไป เมื่อคลอดลูกแล้วน้ำหนักคุณแม่จะลดลงทันที หลังคลอดประมาณ 6 กิโลกรัม และในช่วงหลังคลอดจะค่อยๆลดลงอีก 2-3 กิโลกรัม หรืออาจกล่าวได้ว่าโดย ทั่วไปน้ำหนักตัวหลังคลอดแล้วจะยังคงมากกว่าก่อนตั้งครรภ์ 2-3 กิโลกรัม โดยคุณแม่ที่สามารถลดน้ำหนักตัวให้กลับมาเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน จะมี โอกาสอ้วนน้อยกว่าคุณแม่หลังคลอดที่ไม่สามารถทำได้นะคะ เพราะฉะนั้นหมอจึงอยากแนะนำว่าถ้าหลังคลอด ลูกแล้วคุณแม่ไม่อยากอ้วน ควรจะลดน้ำหนักลงจนเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ให้ได้ภายใน 6 เดือนนะคะ หรือเฉลี่ย ประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ค่ะ และที่สำคัญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นอกจากจะดีที่สุดสำหรับลูกแล้ว สำหรับคุณแม่ก็ยังช่วยป้องกันน้ำหนักเพิ่มหลังคลอดในระยะยาวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วย นมแม่อย่างเดียวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
วัดความดันโลหิต
เมื่อชั่งน้ำหนักเสร็จแล้วต่อมา ก็ต้องมาวัดความดันกันนะคะ โดยทั่วไปความดันปกติจะต้องไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูง หมอก็จะให้คำแนะนำเรื่องการควบคุมอาหารการ ออกกำลังกาย และจะพิจารณาส่งปรึกษาคุณหมออายุรกรรมเพื่อร่วมดูแลรักษาเป็นรายๆไปค่ะ
ตรวจร่างกายทั่วไป
ตรวจเต้านม โดยหมอจะคลำเต้านมทั้งสองข้าง เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ เช่น มีก้อน หรือมีซี สต์ที่เต้านมหรือเปล่า และเต้านมมีลักษณะบวม แดง ร้อน คัดตึง หรือมีการอักเสบหรือไม่ และน้ำนมไหลดีมี เพียงพอให้ลูกหรือเปล่า หรือถ้ามีปัญหาหัวนมบอด หรือหัวนมแตก ซึ่งหมอก็จะได้ให้คำแนะนำในการดูแล รักษาต่อไปค่ะ หลังจากนั้นหมอก็จะตรวจหน้าท้อง สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกเองทางช่องคลอดหมอก็จะตรวจดูว่าหน้า ท้องว่าเป็นอย่างไรถ้ายังหย่อนคล้อยอยู่ก็จะได้แนะนำให้เริ่มออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องให้กลับมา กระชับเหมือนเดิม ส่วนในคุณแม่ที่ผ่าคลอดหมอก็จะตรวจดูแผลที่หน้าท้องให้ว่าหายดีหรือยัง ซึ่งโดยปกติแล้ว แผลมักจะหายภายใน 1 สัปดาห์หลังคลอด และอาการปวดก็จะค่อยๆลดลงจนหายไปใน 1 สัปดาห์เช่นกัน เมื่อดูแผลแล้วหมอแนะนำให้เริ่มบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องได้แต่เริ่มจากเบาๆค่อยเป็นค่อยไปก่อนนะคะ
ตรวจภายในและตรวจมะเร็งปากมดลูก
สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกเองทางช่องคลอด หมอก็จะตรวจดูแผลฝีเย็บและตรวจดูแผลในช่องคลอดว่า หายดีเป็นปกติหรือไม่ มีการอักเสบที่แผลหรือเปล่า นอกจากนั้นการตรวจก็เหมือนกันทั้งคุณแม่ที่คลอดเองและ ผ่าคลอดคือหมอก็จะตรวจดูปากมดลูกว่ามีลักษณะปกติหรือไม่ และมีตกขาว หรือมีเลือดออกผิดปกติหรือเปล่า เมื่อดูเสร็จแล้ว หมอก็จะตรวจมะเร็งปากมดลูกให้ หลังจากนั้นก็จะใช้นิ้วเข้าไปตรวจในช่องคลอดว่ามดลูกมี ขนาดลดลงสู่ปกติเท่ากับก่อนตั้งครรภ์หรือยัง ซึ่งโดยปกติมดลูกจะเข้าอู่คือขนาดลดลงสู่ปกติเมื่อหลังคลอด
ประมาณ 6 สัปดาห์ แต่ถ้ายังมีขนาดโตอยู่จากการตรวจในช่องคลอด ต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เช่น มีรก ค้างในโพรงมดลูก มีก้อนเนื้องอกมดลูก หรือมีก้อนเนื้องอกที่รังไข่หรือไม่
ตรวจอาการอื่นๆ
สำหรับคุณแม่ที่มีโรคบางอย่างซึ่งแทรกซ้อนขึ้นมาตอนตั้งครรภ์ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือครรภ์ เป็นพิษ รวมไปถึงคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เมื่อมาตรวจหลังคลอดหมอก็จะตรวจดู อาการของโรคเหล่านี้ให้ด้วย เช่น ถ้าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เมื่อคลอดลูกแล้วระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับคืนสู่ระดับปกติ หมอก็จะ ตรวจโดยให้คุณแม่งดน้ำงดอาหารเพื่อเตรียมตัวมาเจาะเลือด แต่ถ้าผลน้ำตาลยังไม่ลงสู่ระดับปกติ อาจบ่งบอก ว่าคุณแม่อาจเป็นเบาหวานได้นะคะ ส่วนคุณแม่ที่เป็นครรภ์เป็นพิษ คือคุณแม่ที่มีความดันโลหิตสูง มีไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ มีอาการบวม แต่ อาการเหล่านี้มักจะหายไปภายใน 2-4 สัปดาห์หลังคลอด ดังนั้นหมอจะนัดมาตรวจเพื่อดูความดันโลหิตและไข่ ขาวในปัสสาวะว่ายังผิดปกติอยู่หรือไม่ รวมไปถึงตรวจการทํางานของไต เพราะภาวะครรภ์เป็นพิษนี้จะทําให้ ไตทํางานได้ไม่ดี ปล่อยให้ไข่ขาวหลุดมาในปัสสาวะได้ และถ้าตรวจพบว่ายังมีไข่ขาวในปัสสาวะอยู่ก็แสดงว่า อาจมีโรคไตแทรกอยู่ด้วยได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ หมอก็จะพิจารณาส่งปรึกษาคุณหมออายุรกรรมเพื่อดูแลรักษาต่อไป ค่ะ
ในคุณแม่ที่มีอาการของริดสีดวงทวาร ส่วนใหญ่แล้วอาการมักจะหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ดังนั้น หลังคลอดคุณแม่จึงควรฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา และควรรับประทานผักและผลไม้สดที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำ เปล่าเยอะๆ และหมั่นเดินบ่อย ๆ เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
ตรวจทางด้านจิตใจ
หลังคลอดคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย อีกทั้งมักจะกังวลกับการเลี้ยงลูก มีเวลา พักผ่อนน้อยลง ทำให้เกิดความเครียด และอาจนําไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ หมอก็จะสังเกตอาการและพูดคุยเพื่อให้ คำปรึกษา คุณแม่จะได้คลายความวิตกกังวลลง และหากคุณแม่มีปัญหา หมอก็จะได้ช่วยหาทางและวางแผน แก้ไขเพื่อให้คุณแม่มีกำลังใจและมีแรงในการเลี้ยงดูลูกน้อยต่อไปค่ะ
แนะนำการคุมกำเนิดหลังคลอด
หลังจากตรวจร่างกายไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบกันเรียบร้อย มาถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนกลับบ้าน หมอจะ แนะนำวิธีการคุมกำเนิด ซึ่งมีหลากหลายวิธีมาก ให้คุณแม่เลือก ซึ่งจะแนะนำวิธีที่ไม่มีผลลดน้ำนมให้ คุณแม่ที่ ตัดสินใจคุมกําเนิดแบบใส่ห่วงอนามัย หมอก็จะใส่ห่วงอนามัยให้เลย ส่วนคุณแม่ที่จะใช้ยาฝังคุมกําเนิดหรือ ฉีดยาคุมกําเนิดหมอก็จะทําให้เลยเช่นกันค่ะ และก็จะนัดมาตรวจตามนัดต่อไป ส่วนคุณแม่ที่ต้องการใช้เม็ดคุ มกําเนิดและไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หมอก็จะจ่ายยาเม็ดคุมกําเนิดให้เลย สําหรับคุณแม่ที่ยังเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ต่อ หมอจะเลือกยาเม็ดคุมกําเนิดชนิดที่ไม่มีผลลดปริมาณน้ำนมให้คุณแม่
เห็นไหมว่าการมาตรวจหลังคลอดตามที่หมอนัดนั้นมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะ ฉะนั้นคุณแม่หลังคลอดทุกคนไม่ควรละเลยนะคะ ในขณะเดียวกันคุณแม่ก็ต้องพาเจ้าตัวเล็กไปพบกุมารแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนตอนอายุ 1 เดือนอยู่แล้ว ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวแบบนี้ ดีที่สุดเลยค่ะ มา ตรวจหลังคลอดกันนะคะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคุณแม่เองและลูกน้อยรวมไปถึงคุณพ่อด้วย
14 พ.ย. 2567
9 ต.ค. 2567