Last updated: 6 ต.ค. 2565 |
สำหรับเด็กๆ ที่เพิ่งเห็นโลกภายนอกไม่มากเท่าไรนัก เป็นการยากที่จะเข้าใจความหมายของความยุติธรรมที่เป็นแนวคิดซึ่งนักปรัชญาได้ตีความมาหลายต่อหลายร้อยปี
“ความยุติธรรม” เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความถูกต้องตามศีลธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม ความสมเหตุสมผล กฎหมาย ความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ซึ่งว่าด้วยสิทธิพลเมืองของประชาชนโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ เพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ เหล่ากำเนิด สีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา ความพิการ อายุ ความยากดีมีจน และลักษณะประการอื่น การยกตัวอย่างด้วยการเล่าเรื่องจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่จะทำให้เด็กๆ ได้เห็นภาพมากขึ้น
• ยกตัวอย่างเรื่องราวในชีวิตประจำวัน (Everyday life situations)
เรื่องใกล้ตัวอย่างกิจกรรมกีฬาสีที่โรงเรียน คุณพ่อคุณแม่สามารถหยิบยกความยุติธรรมที่ดูจะเป็นเรื่องนามธรรมมาอธิบายให้ลูกเข้าใจได้ว่า กีฬาต้องมีกรรมการที่คอยตัดสินว่าฝ่ายไหนถูกผิด ทีมไหนได้แต้ม หรือแพ้ชนะตามกฎกติกาของกีฬาแต่ละชนิด ดังนั้นในสังคมเราก็ต้องมีความยุติธรรมเช่นกัน
• พูดคุยเกี่ยวกับข่าวสารและเหตุการณ์บ้านเมือง (News)
แน่นอนว่าเมื่อทั้งบ้านนั่งดูข่าวด้วยกัน พ่อแม่สามารถวิพากษณ์วิจารณ์ได้ว่า เหตุการณ์เช่นอุบัติเหตุจะไม่เกิดถ้าเราปฏิบัติตามกฎหมาย ในเมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็จะมีโทษตามมา เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและสงบสุขในสังคม
การยกตัวอย่างเรื่องที่ดูเป็นนามธรรมอย่างเรื่องความยุติธรรมผ่านการเล่าเรื่องสามารถทำให้เด็กๆ เข้าใจหลักการของความยุติธรรมได้ไม่ยากเลย
• นิทานคุณธรรม และการ์ตูน (Bedtime stories and cartoons)
นิทานที่เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของคน หรือแม้แต่สัตว์ในป่า ก็สามารถสอนเรื่องความยุติธรรมโดยให้เด็กซึมซับเรื่องความยุติธรรมผ่านความเพลิดเพลินและจินตนาการ โดยมักจะมีตัวเอกคือนางเอก หรือพระเอกในเรื่องที่คอยอยู่เคียงข้างความถูกต้องและมีคุณธรรมอยู่เสมอ
• ชีวประวัติของบุคคลสำคัญ (Into the history)
ยกตัวอย่างบุคคลสำคัญที่ทำให้เกิดความยุติธรรม เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงดำเนินการปฏิรูปศาลไทย โดยปรับปรุงให้ศาลมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลนี้ทำให้ทรงได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน์
• เรื่องราวของคนรู้จัก (People’s experience)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนในครอบครัวที่มีเรื่องความยุติธรรมเกี่ยวข้อง หรือเรื่องราวของญาติที่มีอาชีพเป็นทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา ให้เด็กๆได้เข้าใจว่ามีผู้คนที่คอยผดุงความยุติธรรมโดยใช้กฎหมายบ้านเมือง
ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน จะรวยหรือจะจน ทุกคนควรได้รับการปฏิบัตอย่างเท่าเทียมและะความยุติธรรม
พักสายตา ฟังบทความนี้แบบ Audiobook
20 ก.พ. 2566
10 ต.ค. 2566
23 ส.ค. 2567