Last updated: 7 ส.ค. 2562 |
"อารมณ์" เป็นวิธีธรรมชาติที่เด็กเล็กใช้แสดงความรู้สึก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถสอนให้พวกเขารู้จักจัดการกับอารมณ์ต่างๆได้เช่น
1. พ่อแม่คือตัวอย่างที่ดี
รู้ไหมว่า.... ถ้าคุณพ่อคุณแม่หรือคนใกล้ชิดแสดงอาการก้าวร้าวเวลาที่โกรธ เด็กๆก็จะเลียนแบบคนใกล้ตัวไปโดยธรรมชาติ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรพยายามสงบสติอารมณ์ ใช้น้ำเสียงและท่าทางปกติเมื่อเผชิญกับความโกรธ เพราะลูกจะซึมซับในสิ่งที่เห็น
2. พูดคุย
อธิบายอารมณ์ของคุณแม่อย่างเปิดเผยตัวอย่าง แม่รู้สึกไม่สบายใจและโกรธตอนที่หนูโยนอาหารลงบนพื้น หรือเมื่อหนูรื้อของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ทำให้ห้องเกะกะไปหมด หนูรู้ไหมทำให้แม่ต้องทำงานหนักขึ้น หรือเมื่อหนูเสียงดังตะโกนใส่แม่ รู้สึกทำให้แม่เศร้านะครับ การอธิบายให้ลูกฟังแทนการแสดงด้วยกริยา จะเป็นวิธีที่ลูกจะรู้ถึงสาเหตุได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความรุนแรง
3. คอยสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมลูก
ถ้าคุณแม่เริ่มเห็นลูกมีพฤติกรรมหงุดหงิดเริ่มไม่สบอารมณ์ ให้คุณคอยอยู่ใกล้ๆ หาโอกาสสอบถามพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลห่วงใยว่า ตอนนี้ลูกรู้สึกมีอะไรไม่สบายใจหรือ จะให้แม่ช่วยอะไรหนูไหม ฯลฯ เด็กจะรับรู้ว่ามีคนใส่ใจและเรียนรู้ที่จะจัดการปัญหา นับเป็นบทเรียนแรกที่เด็กจะได้เรียนรู้มัน
4. หากลูกแสดงพฤติกรรมหรืออารมณ์ไม่น่ารักให้ทำเป็นไม่สนใจ
ในกรณีที่ลูกไม่ได้เป็นเด็กก้าวร้าวจนมีโอกาสไปทำร้ายคนอื่น ลองปล่อยให้ลูกได้จัดการกับอารมณ์โกรธหรือความกระฟัดกระเฟียดด้วยตัวเอง บทเรียนนี้สอนให้ลูกเรียนรู้ว่าไม่ใช่แม่ไม่สนใจใยดีลูก เพียงแต่แม่ไม่สนใจพฤติกรรมไม่น่ารักของลูกเท่านั้นเอง
5. ไม่เร่งขอเหตุผล
เพราะขณะที่ลูกยังหมกมุ่นกับอารมณ์ตัวเองที่วุ่นวาย ลูกคงไม่สามารถฟังหรือเข้าใจเหตุผลได้เช่นกัน ดังนั้นจงให้เวลา
6. แนะวิธีการแสดงออกที่เหมาะสม
กฎเหล็กที่สำคัญคือคุณแม่ควรใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล เป็นมิตร ไม่ลูกรู้สึกถูกตำหนิ ตัวอย่าง คุณอาจพูดว่า...แม่รู้ว่าลูกโกรธ ลองดูอีกที ทำไมลูกไม่นำของเล่น ลับไปที่ห้องและอยู่คนเดียวล่ะ ลูกสามารถโกรธ ร้องไห้ แต่ลูกจะชกต่อยไม่ได้
7. คุณแม่ท่องไว้ ถึงรักก็ไม่ตามใจ
ทันทีที่ลูกคุณแสดงอารมณ์เพราะคุณแม่ไม่ตอบสนองหรือปฏิเสธไม่ให้ทำอะไรที่เขาอยากทำการตามใจลูกจะยิ่งทำให้ลูกคุณใช้การแสดงอารมณ์มากยิ่งขึ้นในอนาคต
8. ต้องการความสงบ
บางครั้งหากลูกอยู่ในที่สาธารณะมีคนพลุกพล่าน การนำลูกออกจากสถานะการณ์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะท่ามกลางอารมณ์ที่ครุกรุ่น เด็กก็ต้องการความเงียบสงบ หรือห้องเงียบๆเพื่อที่จะช่วยสงบออารมณ์
9. ท้ายสุด หากการใช้เทคนิค “ไม่สนใจ” ของคุณแม่ไม่ได้ผลจริงๆ
ลองเบนความสนใจของลูกด้วยของเล่นอื่นหรือกิจกรรมอื่น เพราะเด็กจะมีความสนใจอะไรสั้นๆ การหันเหความสนใจเป็นวิธีที่มักได้ผล สามารถดึงอารมณ์เด็กไปสู่อีกความรู้สึกหนึ่งได้ ทำให้ลูกเลิกงอน เลิกโกรธ และใช้พลังงานไปในเชิงสร้างสรรค์ทางอื่น
26 เม.ย 2566
19 พ.ค. 2566
6 เม.ย 2566