5 กลยุทธ์ ฝึกทักษะสังคม (SQ) ให้ลูก

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

การเลี้ยงลูกในปัจจุบัน คงจะเลี้ยงให้ลูกเรียนเก่งอเพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว  การสอนให้รู้จักปรับตัวในสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญและเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตต่อไป การปรับตัวในสังคมหรือเรียกอีกอย่างว่า ความฉลาดทางสังคม SQ : Social Quotient อาจฟังดูไม่คุ้นหูมากนัเกเมือ่เทียบกับคำว่า IQ และ EQ มาดูกันค่ะว่า ความฉลาดทางสังคม เป้นอย่างไรและเราในฐานะพ่อแม่จะฝึกฝนลูกได้อย่างไร

ผศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม  คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล  คุณหมอได้อธิบายคำว่า ความฉลาดทางสังคม (SQ : Social Quotient) คือ ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น  เมื่อลูกอยู่ที่โรงเรียน มีเพื่อนๆ  มีคุณครู ลูกก็สามารถปรับตัวเข้ากับที่โรงเรียนได้  เวลาอยู่ที่บ้านซึ่งเป็นอีกสังคมหนึ่งลูกก็จะ  เรียนรู้และเข้าใจที่จะอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวง่าย ๆ คือ 

รู้ว่าตอนนี้ตนเองอยู่ที่ไหน  กำลังทำอะไร  อยู่กับใครอากาศร้อนก็รู้จักอดทน ไม่ร้องโวยวาย หิวแล้ว ถึงเวลากินก็ยังรู้จักอดทนรอ ไม่ใช้ร้องโวยวายต้องได้ทุกอย่างเดี๋ยวนั้นเด็กที่มีความฉลาดทางสังคมจะสามารถปรับตัวได้ดี และจะกลายเป็น “ทักษะสำคัญ”  ในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในอนาคตเชียวนะคะ ที่สำคัญคนที่ประสบความสำเร็จในสังคม   ความสามารถเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เราต้องสั่งสมขวนขวายหาความรู้  แต่ถือว่าเป็นส่วนน้อย น้อยกว่า 1 ใน 4 เสียด้วยซ้ำ เพราะความสำเร็จสิ่งสำคัญมักจะเกิดจากความสามารถในการปรับตัว การใช้ชีวิตและการทำงานร่วมกับผู้อื่น   ที่นี้มาดูกันว่า  จะฝึกฝนลูกอย่างไรให้ลูกมีความฉลาดทางสังคม 



กลยุทธ์ที่ 1 เอาตัวรอดได้  เอาตัวรอดได้ คือ  การฝึกลูกให้รู้จักปรับตัว และตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่อย่างเหมาะสม เช่น ในสถานการณ์  เมื่อลูกถูกเพื่อนแกล้ง ลูกจะตัวรอดยังไง โดยไม่ให้ถูกเพื่อนคนเดิมแกล้งอีก  ลองพูดคุยถามลูกว่า ดูว่าลูกคิดแก้ปัญหานี้อย่างไร  แล้วพ่อจ๋าแม่จ๋าค่อยให้คำแนะนำ เช่น  ไปหาคุณครู ไม่เล่นคนเดียวลำพัง  แต่ไปเล่นกับเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ  เป็นต้น

กลยุทธ์ที่ 2 เรียนรู้มารยาทสังคม เวลาที่ลูกต้องอยู่ท่ามกลางคนหมู่มากซึ่งไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว การปลูกฝังให้ลูกรู้จักหน้าที่ของตนเอง  มีความรับผิดชอบและมีมารยาทต่อผู้อื่นนั้นสำคัญมาก

รู้จักหน้าที่   รู้ว่าตอนนี้ตัวเองเป็นใคร  มีหน้าที่อะไรและสามารถทำอะไรได้บ้าง เช่นไปทานอาหารร่วมโต๊ะกับเพื่อนๆ ของพ่อจ๋าแม่จ๋า  ลูกซึ่งยังเป็นเด็ก ต้องไม่ดื้อไม่ซน ไม่วิ่งวุ่นวายหรือทานอาหารเลอะเทอะ

ไม่พูดแทรกเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน ซึ่งพ่อจ๋าแม่จ๋าควรจะพูดคุยทำความเข้าใจกับลูกก่อนนะคะเพื่อให้ลูกเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง

ความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ประพฤติตนอย่างเหมาะสม ไม่ใจร้อนเอาแต่ใจตนเอง และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย

มีมารยาท รู้จักมารยาทและสิทธิของผู้อื่นในที่สาธารณะ ไม่รบกวนหรือส่งเสียงดัง  วิ่งเล่นซน จนเกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นแบบนี้เมื่อลูกได้เรียนรู้หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองและผู้อื่นแล้ว  แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้จะติดตัวลูกไปจนโตเลยนะคะคุณพ่อคุณแม่

กลยุทธ์ที่ 3 กล้าคิดกล้าทำ  แต่ต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องนะคะ การกล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องถือเป็นทักษะที่ช่วยลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น ๆ ได้นะคะเช่น  กล้าที่จะทักทายผู้อื่นก่อน  กล้าที่จะถามกล้าที่จะตอบ และยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ แม้อยู่ในสถานที่ไม่คุ้นเคยก็ตาม

กลยุทธ์ที่ 4 แบ่งปัน การแบ่งปัน ถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ควรปลูกฝังให้มีในตัวลูกการรู้จักแบ่งปันเริ่มตั้งแต่การรู้จักตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น  การเสียสละ  ความมีน้ำใจ ฝึกได้ไม่ยากคือ เช่น พ่อจ๋ากลับมาจากทำงานเหนื่อย ๆ  แรก ๆ แม่จ๋าฝึกให้ลูกนำน้ำไปให้พ่อจ๋าดื่ม เพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อย ชวนลูกช่วยทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อลูกทำสิ่งดี ๆ นั่นคือ “คำชม” เพื่อให้ลูกมีกำลังใจและภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนทำ นี่แหละค่ะ คือ จุดเล็ก ๆ  ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำความดีนั่นเอง

กลยุทธ์ที่ 5 สื่อสารกับผู้อื่นเป็น  ไม่ใช่แค่พูดได้นำคะ ต้องสื่อสารอย่างเข้าใจด้วยข้อนี้ถือเป็นทักษะที่สำคัญ เพราะการสื่อสาร คือ หัวใจที่ทำให้ลูกผูกมิตรกับเพื่อน ๆ หรือผู้อื่นได้ง่าย เด็ก ๆ ควรได้รับการพัฒนาทั้งด้านการสื่อสาร ด้วยคำพูด (วัจนภาษา) และการกระทำหรือภาษาท่าทาง(อวัจนะภาษา) ลูกควรเข้าใจความหมายของคำและการแสดงออกที่ถูกต้องเมื่อต้องสื่อสารกับผู้อื่น และต้องสังเกตด้วยว่า ผู้ที่พูดด้วยนั้น เขามีปฏิกิริยาอะไร แบบนี้ถึงจะทำให้ลูกมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นแม่มิ่งแนะนำว่า ต้องสอนให้ลุกรู้จัก “ขอบคุณ” เมื่อมีใครทำอะไรให้ และรู้จัก “ขอโทษ”เมื่อลูกทำผิด ควรพูดให้ติดปากเสมอจะเป็นสิ่งที่ดีกับลูกนะคะ

ไม่ยากเลยนะคะหากจะฝึกฝนให้ลูกเป็นเด็กที่มีความฉลาดทางสังคมที่สำคัญสิ่งเหล่านี้จะติดตัวลูกไปจนโต ถือเป็นทักษะชีวิตที่ไม่ควรมองข้าม

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร (แม่มิ่ง)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้