Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
การที่คุณพ่อแม่และผู้ดูแลเด็กใส่ใจและตระหนักถึงความปลอดภัย จะนำไปสู่การนอนหลับอย่างมีคุณภาพของเด็กได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายด้วย การทำให้เบบี๋หลับสบายได้ตลอดคืนมีเทคนิคไม่ยากเลยค่ะ และยังจะช่วยไม่ให้เบบี๋ต้องสัปหงกระหว่างวัน เพราะต้องอดหลับอดนอนระหว่างคืนอีกด้วย
1. เวลาป้อนนม
เบบี๋คลอดใหม่หิวบ่อยค่ะ จึงต้องป้อนนมเขาทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ส่วนในเบบี๋อายุ 2-3 เดือน เขาจะตื่น 2-3 ครั้งระหว่างคืนเพื่อให้ป้อนนม ในขณะที่เมื่ออายุ 6 เดือน เบบี๋สามารถนอนหลับได้โดยไม่ตื่นขึ้นมาร้องหิวระหว่างคืน ช่วงนี้เขาสามารถหลับได้ยาวนานถึง 8 ชม. เลยทีเดียว แต่ถ้าเบบี๋ที่โตกว่านี้ แต่ยังคงตื่นมากกว่าหนึ่งครั้งระหว่างคืนเพื่อให้ป้อนนม นั่นแสดงว่าเขาเริ่มเสียนิสัยแล้ว วิธีแก้ไขคือการจัดระบบใหม่ทั้งการป้อนนมและการนอน โดยการป้อนนมตั้งแต่หัวค่ำและให้วางเขานอนลงที่เตียงในขณะที่เขายังตื่นอยู่ เพื่อให้เบบี๋เรียนรู้ที่จะหลับด้วยตัวของเขาเองเมื่อถึงเวลานอน และเขาก็จะม่อยหลับไปเองโดยที่คุณพ่อและคุณแม่ไม่ต้องช่วยเลย
2. ร้องครวญคราง
3 นิสัยแย่ๆ ที่จะทำให้เบบี๋หลับด้วยตัวเองยากก็คือ 1. วางขวดนมหรือขวดน้ำไว้ในเตียงนอนลูก 2. โยกเบบี๋ไปมาเพื่อให้หลับ 3. ใจอ่อนยอมเบบี๋ การที่คุณแม่กระวนกระวายทำอะไรไม่ถูกกับการร้องของลูกจะยิ่งทำให้ทุกอย่างแย่ลงไปอีก และยังเป็นการปลุกเบบี๋ให้ตื่นโดยไม่รู้ตัว
3. ร้องโยเย
คุณแม่สามารถสอนเบบี๋ให้นอนหลับได้ตลอดทั้งคืนโดยไม่ตื่น เมื่อเบบี๋อายุได้ 3-6 เดือน ให้คุณแม่วางเขาลงที่เตียงนอนในขณะที่เขายังตื่นอยู่ แม้ว่าเขาจะร้องไห้โยเยเมื่อคุณแม่ออกไปจากห้องแล้วก็ตาม อย่ากลับไปที่เตียงจนกว่าจะผ่าน 5 นาทีไปแล้วนะคะ ถ้าเขายังร้องอยู่ให้กลับไปป้อนนมเขาอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจ แต่อย่าอุ้มเขาขึ้นมา เข้าไปตรวจเขาดูเป็นระยะๆ ทุก 5-10 นาที และทำตามขั้นตอนนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนเบบี๋สามารถเรียนรู้ที่จะหลับได้ด้วยตัวเขาเอง
4. หลับพอไหม
โดยทั่วไป เบบี๋เกิดใหม่จะนอนหลับประมาณ 14.5 ชม. / วัน ให้อยู่ระหว่าง 10.5 – 18 ชม. ต่อวันก็ถือว่ากำลังดีค่ะ เมื่อเด็กมีอายุ 2 เดือนถึง 1 ปี เบบี๋โดยเฉลี่ยจะหลับตาลงประมาณ 14 ชม.ต่อวัน
5. ช่วงเวลาของน้ำตา
การสอนให้เบบี๋หลับไม่ใช่เรื่องง่าย อย่าแปลกใจถ้าเจ้าตัวเล็กเอาแต่ครวญครางและร้องได้เป็นชั่วโมงหรือมากกว่านั้น เข้าไปตรวจดูเบบี๋ได้บ่อย แต่อย่าใจอ่อนอุ้มเธอขึ้นมา
6. เตียงนอนของครอบครัว
ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีนอนเตียงผู้ใหญ่ เพราะเด็กอาจถูกนอนทับ (overlying) โดยคุณพ่อคุณแม่ได้ ดังนั้น จึงควรให้เด็กนอนเตียงเด็กที่ได้มาตรฐาน หรือนอนเบาะที่นอนเด็ก (ไม่ใช้เตียง) เด็กเล็กนอนเตียงผู้ใหญ่อาจมีอันตรายจากช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการจัดเตียง ช่องว่างระหว่างเตียงกับกำแพงซึ่งเกิดจากการจัดวางเตียงไม่ชิดกำแพง หรือช่องว่างที่เกิดจากการจัดวางเตียงกับเฟอร์นิเจอร์อื่น เบาะ ที่นอน หมอน ฟูก ผ้าห่ม มุ้งก็อาจเป็นอันตรายกับเด็กได้
7. หลับปุ๋ย
อ่านหนังสือให้ลูกฟังก่อนนอนทุกคืน ไม่เพียงแต่เสียงของคุณจะทำให้เบบี๋เคลิ้มหลับได้ง่ายแล้ว แต่มันยังมีผลต่อเนื่องไปตลอดช่วงวัยเด็กของเขาอีกด้วย
8. ขอความช่วยเหลือ
หากเบบี๋ยังคงมีปัญหากับการนอนอย่างต่อเนื่อง ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง คุณแม่อย่ามัวแต่เงียบอยู่ ลองปรึกษากุมารแพทย์ดูค่ะ หรือหาข้อมูลจากในอินเตอร์เน็ตก็ได้ค่ะ ลองเข้าไปที่
9. ป่วย
อย่าคาดหวังว่านะคะว่าลูกจะหลับสบายเมื่อเขาป่วย การจะช่วยให้เบบี๋ป่วยหลับสบาย ก็คือ ดูดน้ำมูกจากจมูกเพื่อให้หายใจได้โล่ง ทำให้อากาศในห้องชื้น คุณอาจต้องละทิ้งกฎเกณฑ์ที่ใช้กับการนอนของลูกออกไปในช่วงนี้ก่อน
10. สวมชุดนอน
เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ควรสวมชุดนอนให้กับเบบี๋ ให้ดูที่ป้ายด้านหลังชุดที่เขียนว่าเป็นชุดสำหรับใส่นอน
11. เศร้าใจจัง
เรารู้ค่ะว่ามันยากที่จะต่อต้านหรือยั้งใจไว้ได้เมื่อเห็นเบบี๋ร้อง แต่อย่าโอ๋ลูกนานเกินไป เมื่อคุณกำลังพยายามเอาเขาเข้านอนในช่วงกลางดึกที่เขาตื่นขึ้นมา ให้พึงระลึกไว้ว่านี่มันก็จวนเจียนจะตีสามแล้ว ตอนเช้าคุณยังมีงานต้องทำอีกมาก ฉะนั้นอย่าอ้อยสร้อยอยู่กับลูกนานเกินไปนะคะ
12. กล่อมหนูหน่อย
เพลงก่อนนอนดีทั้งสำหรับคุณแม่เองและกับตัวเบบี๋ ทำให้คุณทั้งคู่รู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น
13. ยามเช้าอันวุ่นวาย
ถ้าเบบี๋ตื่นนอนช่วงเวลาตี 4 และ 6 โมงเช้าอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่คุณคิดจะทำต่อไปนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง นั่นก็คือ ถ้าเบบี๋ตื่นตอนช่วงเช้าและเขาจะหลับอีกที ถ้าคุณพาเขากลับไปนอนที่เตียงด้วยกัน แสดงว่าเขาได้สร้างเงื่อนไขโดยที่คุณไม่รู้ตัว ว่าเขาจะหลับก็ต่อเมื่อมีคุณอยู่ด้วย วิธีแก้ไขโดยการสอนให้เขาหลับด้วยตัวของเขาเองที่เตียงของเขา ด้วยวิธีนี้จะทำให้เบบี๋รู้ว่าเขาจะม่อยหลับเองอีกครั้งได้อย่างไรถ้าเขาตื่นขึ้นมาในช่วงเช้าอีก อย่างไรก็ตาม ถ้าเบบี๋ยังคงตื่นนอนก่อนพระอาทิตย์ขึ้นทุกเช้า เขาอาจเป็นเด็กที่ตื่นเช้าก็ได้
14. งีบหลับ
เคยสงสัยบ้างไหมคะว่าจริงๆ แล้วเบบี๋ควรงีบหลับนานแค่ไหน จากหนังสือของ Marc Weissbluth ผู้เขียน Healthy Sleep habits สรุปได้ว่าการนอนของเด็กเกิดใหม่แบ่งออกเป็นการนอนเวลากลางวันและการนอนกลางคืน ซึ่งแต่ละช่วงจะนอนอยู่ในระยะ 30 นาที ถึง 3 ชม. ทารกอายุ 2-4 เดือนจะงีบหลับ 2-3 ครั้งต่อวัน ทั้งหมดประมาณ 5 ชม. ทารก 5-8 เดือน จะงีบหลับมากที่สุดเฉลี่ย 3.5 ช.ม.ระหว่างวัน ในทารก 9-12 เดือนจะงีบหลับเฉลี่ย 2.5 ช.ม. ต่อวัน
15. เพลียเกินไป
ให้วางเด็กลงนอนเมื่อเขาม่อยหลับหรือเมื่อถึงเวลานอนแล้วเขามีอาการให้เห็นว่าง่วงนอน วิธีการหนึ่งที่เราไม่แนะนำคือ พยายามทำให้เด็กนอนหลับช้าเพื่อให้เขานอนหลับได้นานในตอนกลางคืนและตื่นสายในวันรุ่งขึ้น การให้เบบี๋เข้านอนช้า จะทำให้เขามีอาการนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ง่วงหงาวหาวนอนและจะมีปัญหากับการส่งเสียงร้องระหว่างคืนจนถึงเช้า
16. นอนผิดท่า
ท่านอนที่อันตรายมากที่สุดสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี คือ การนอนคว่ำ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตฉับพลันของทารกโดยไม่ทราบสาเหตุหรือที่เรียกกันว่าโรค SIDS (sudden infant death syndrome) ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการ “ให้เด็กนอนหงาย” (Back to sleep) โดยแนะนำให้จัดท่านอนเป็นท่านอนหงายเสมอ พบว่าการเสียชีวิตจากโรค SIDS ลดลงอย่างชัดเจน การนอนคว่ำมีความเสี่ยงต่อการกดทับจมูกปากจนขาดอากาศหายใจมากกว่าการนอนหงาย 2-7 เท่าตัว ดังนั้น เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนควรจัดท่าให้นอนหงายเท่านั้น การนอนคว่ำอาจเป็นอันตรายได้ เพราะเด็กทารกแรกเกิดยังตะแคงหน้า ยกศีรษะไม่เป็น
17. เงียบสงบ
ถ้าเสียงการจราจรข้างนอกหรือเสียงบรรดาพี่น้องเล่นกันปลุกให้เบบี๋ตื่น ลองเปิดเพลงคลอเบาๆ เพื่อกลบเสียงภายนอก
18. set ตารางเวลา เบบี๋ที่ไม่มีตารางเวลาการนอนที่แน่นอนจะมีความเสี่ยงต่อพัฒนาการทางการนอนของเขาได้ ทุกๆ เย็นให้ทำกิจกรรมตามตารางเวลาที่แน่นอน เช่น อาบน้ำให้ลูก สวมชุดนอนให้เขา และอุ้มเขาไปวางไว้ที่เตียงนอนของเขา
19. ความเครียดจงหายไป
เป็นเรื่องยากที่คุณแม่จะดูแลลูกยามที่คุณเหนื่อยแสนเหนื่อย ถ้าคุณแม่ไม่สามารถหาเวลางีบหลับได้ระหว่างที่ลูกหลับ ลองหาวิธีอื่นที่จะเรียกพลังกลับคืนมา เช่น ออกไปสูดอากาศภายนอก ถ้าเพื่อนๆ ของคุณชวนกันไปเดินเล่น ให้พาเบบี๋เดินไปกับคุณด้วย ฉะนั้นจะทำให้คุณมีเวลาได้ผ่อนคลาย
20. กระตุก
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า “หลับสนิทเหมือนทารก” เขาคงไม่ได้สังเกตดูอาการของเด็กอย่างจริงจัง เป็นเรื่องปกติสำหรับเบบี๋ที่จะมีอาการกระตุก สะบัดแขน หรือยิ้มยามหลับ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับทารก ฉะนั้นอย่าเข้าไปแทรกแซงการนอนหลับของเขานะคะ
21. ง่วงซึมผิดปกติ
ถ้าคุณพาลูกไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอเมื่อไร ให้สอบถามกับคุณหมอก่อนที่จะใช้ยารักษา เพราะยาบางชนิสามารถส่งผ่านจากน้ำนมแม่ไปยังลูกน้อยได้ทำให้เบบี๋มีอาการเหนื่อยหรือง่วงซึม
22. วันหยุดสุดหรรษา
เปลี่ยนบรรยากาศบ้างก็ดีนะคะ เช่น นอนในเตียงนอนที่แปลกออกไป นอนพักในโรงแรมหรือบ้านคุณย่า แต่พยายามคงตารางเวลาการนอนและการงีบหลับของเบบี๋เอาไว้ เมื่อกลับมาบ้าน คุณอาจต้องใช้เวลาสัก 2-3 คืนเพื่อให้เบบี๋ปรับตัวสู่ภาวะปกติ
23. ทำซ้ำ
แม้ว่าตารางเวลาของคุณจะจบลงด้วยการอ่านหนังสือให้เบบี๋ฟังหรือร้องเพลงกล่อมเขา ให้ทำภารกิจต่างๆ เหล่านี้ให้เสร็จสิ้นตั้งแต่ในห้องที่ลูกหลับ เพื่อเป็นการให้เขาได้รู้ว่านี่คือเวลานอนของเขานะ
24. ลักษณะทางพันธุกรรม
แม้ว่าคุณอาจจะเคยได้ยินมาว่าทารกหญิงและชายต้องการการนอนหลับต่างกัน แต่ความจริงแล้วทารกทั้งหญิงและชายต่างก็ต้องการการกลับพักผ่อนเท่ากันแหล่ะค่ะ
25. ครอกฟี้
ขณะที่คุณรู้สึกเหนื่อยเหลือเกินกับการคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะฝึกสอนวินัยการนอนให้กับลูกได้ เพื่อให้ลูกมีนิสัยการนอนที่ดี จงคุณคิดซะว่าคุณเหนื่อยเพื่อทารกน้อยและตัวคุณเองในวันนี้ เพื่อผลในระยะยาวค่ะ ยังไงก็ตาม ….หลับฝันดีนะคะ!…
10 ต.ค. 2566
29 ก.ย. 2566