Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
ผู้ที่ถนัดใช้สมองสองซีกพอๆกัน มักจะพยากรณ์หรือมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล แม่นยำกว่าคนที่ถนัดใช้สมองซีกใดซีกหนึ่งมากกว่าอีกซีกหนึ่ง
สมองดี สมองไม่ดี ต่างกันอย่างไร
มีผู้พยายามศึกษาลักษณะของสมองว่า สมองอย่างไรหนอจึงจะเรียกว่าสมองดี สมองอัจฉริยะ จึงมีการศึกษาเปรียบเทียบเอาสมองสัตว์ที่ใกล้คนมาพิสูจน์เปรียบเทียบดูก่อน คือ เอาสมองคุณจ๋อมาดูว่า ต่างกับสมองของเราอย่างไร ก็พบว่าสมองคุณจ๋อนั้นขนาดเล็กกว่า น้ำหนักน้อยกว่า ละก็มีรอยหยักน้อยกว่าคนมากทีเดียว
นอกจากนี้ก็ยังเอาสมองสุนัขและแมวมาเปรียบเทียบดูก็พบว่าสมองของสุนัขและแมวมีขนาดและน้ำหนักน้อยกว่าคนมาก และถ้าเปรียบเทียบอัตราส่วนจากน้ำหนัก จะพบรอยหยักน้อยมาก เช่นเดียวกับของคุณจ๋อ เอ! แสดงว่าคนสมองใหญ่หัวโตก็ต้องฉลาดกว่าคนหัวเล็กนะซิ หรือว่าคนสมองหยักมากกว่า (เพราะมีเซลล์อัดกระปิ๋งแน่นกว่า) ก็ฉลาดกว่าคนหยักน้อยกว่าและเราก็อาจเกิดความงงมากขึ้น เมื่อไปผ่าสมองปลาโลมา และปลาวาฬที่มีขนาดใหญ่กว่าสมองคน แถมรอยหยักบนผิวสมองมากกว่าคนเสียอีกด้วย แต่ไหงมาเป็นลูกน้องให้คนฝึกบ้าง เอามากินบ้างเฉยเลย
แหม! เมื่อเวลาเราไปเปรียบเทียบกับสัตว์อื่น เราหาข้อารุปไม่ได้ง่ายนัก แต่พอเวลาเรามาหาข้อสรุปกับคนด้วยกันเองกลับยากยิ่งกว่า
คนสมองใหญ่ – เล็ก – หยักมาก หยักน้อยยังไม่มีข้อกำหนดว่าจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าฉลาดมากน้อยกว่ากัน ในทางตรงข้ามหากหยักมากไปน้อยไปอาจทำให้เกิดลักษณะพัฒนาผิดปรกติได้ เพราะรอยหยักนี่มีความหมาย รอยหยักช่วงหนึ่งๆ ก็ทำหน้าที่หนึ่ง เรียกว่าเป็นสเปคที่กำหนดมาอย่างสมบูรณ์น่าทึ่งมากทีเดียว
ถ้าอย่างนั้น ลองมานับเซลล์สมองดีกว่า พบนับดูเซลล์สมองของอัจฉริยะบุคคลกับคนปัญญาอ่อน(ที่เสียชีวิตไปแล้ว) ก็ดูแล้วไม่มีความแตกต่างอย่างที่คิด แถมสมองดีๆ อย่างไอน์ไตล์ กลับพบว่ามีจุดเอ๋อตั้งสองจุดเรียกว่าเป็นสมองบกพร่องที่ทำให้ไอน์ไตล์มีปัญหาทางการเรียนตอนเป็นเด็กๆ (ตอนแก่ก็เหอะเอ๋อประจำ) เราคงจะเวียนหัวกันน้อยกว่านี้ถ้าคนที่มีเซลล์มากหมายถึงฉลาดมาก มีเซลล์น้อยหมายความว่าฉลาดน้อยแต่ความจริงก็คือ จำนวนเซลล์ไม่ได้เป็นตัวบอกว่าเราเป็นคนฉลาดหรือไม่
สิ่งที่ทำให้คนเราฉลาดน่าจะเป็นความสามารถในการควบคุมสมาธิในการทำงาน และได้ทุ่มเทกำลังสมองกำลังใจให้กับงานอย่างเต็มที่ อย่างอิสระฉีกความคิดให้หลุดพ้นจากกรอบเก่าๆ จนเกิดนวัฒนกรรมใหม่ๆ ทำให้อัจฉริยบุคคลเกิดขึ้น จากสิ่งนี้เองหาใช่จำนวนเซลล์ไม่
ถ้าจะให้เด็กฉลาดขึ้นต้องทำอย่างไร ?
เด็กที่ฉลาดกับไม่ฉลาดก็ล้วนแต่มีจำนวนเซลล์สมองที่ไม่ได้แตกต่างกัน (เท่าที่พสูจน์กันตอนนี้) แต่สิ่งที่ทำให้เด็กฉลาดกับเด็กที่ไม่ฉลาดแตกต่างกันมากก็คือ ปฏิกิริยาชีวเคมีภายในเซลล์สมองที่ส่งผ่านจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่ง พูดง่ายๆ ก็คือหากเซลล์สมองเกิดมาแล้วก็ไม่มีการพูดคุยติดต่อกับเซลล์ข้างๆ ที่เป็นเพื่อนบ้านก็โง่ และไม่ช้าไม่นานก็เหี่ยวเฉาตายไปทีละเซลล์สองเซลล์จนฝ่อเป็นแถบๆ เพราะเซลล์หนึ่งมากระตุ้นให้มีชีวิตแล้วชยายกิ่งก้านสาขาออกมา
และพบอีกว่าหากต้องการให้เซลล์ฉลาดก็ทำไม่ยากก็ต้องทำให้เซลล์มีความแข็งแรง และเพิ่มความเร็วในการเปลี่ยนปฏิกิริยาเคมีให้เร็วขึ้น การที่เซลล์แต่ละเซลล์มีไฟฟ้าวาบๆ เร็วขึ้นๆ นี่เองไปเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ และนอกจากนั้นเซลล์ยังสร้างเครือข่ายเพิ่มขึ้นทำให้เซลล์สมองเกิดความสลับซับซ้อนมากขึ้น
เมื่อเราชั่งก็ไม่ได้ ตวงก็ไม่ได้ วัดก็ไม่ได้ เอาไงดี? เราก็เลยใช้แบบทดสอบวัดเสียเลยคงดีกว่าแน่
เมื่อสมัยก่อนเราก็ใช้แบบทดสอบสติปัญญา หรือที่เรียกว่า IQ Test ถ้าคะแนนสูงก็เรียกว่าไอคิวดี คะแนนต่ำก็ไอคิวต่ำ สมองไม่ดี
ต่อมาภายหลังก็พบว่าความเข้าใจในเรื่องสมองของเราพลาดเข้าไปถนัด เพราะความสามารถทางสมองของมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่ไอคิวประการเดียว ความสามารถทางกีฬา ศิลปะ ดนตรี ญาณปัญญา ความเป็นผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับไอคิวมากนัก นักวิชาการจึงต้องพยายามเฟ้นหาวิธีวัดให้เหมาะกับความสามารถของสมองด้านต่างๆ เช่น เวลาจะหานักกีฬา ก็ไม่ใช่ไอคิวเทสไปวัด หรือหานักดนตรีก็ต้องใช้แบบทดสอบความไวของหู การรับรู้เรื่องเสียง ความถี่ คลื่นเสียง จังหวะ สุนทรียะทางดนตรี เป็นต้น
ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นๆ แล้วว่าเซลล์ของคนโง่กับคนฉลาดไม่ได้ต่างกันที่รูปลักษณ์ แต่วัดความแข็งแรง และวิธีที่เซลล์จัดการกับข้อมูลต่างหากที่เป็นส่วนให้คนฉลาด และเราสามารถสอนเซลล์ให้ฉลาดได้ด้วยการสอนเองให้มีระบบคิดที่ดีก่อน
*จากข้อมูลใหม่ๆ ทำใหเราทราบว่าในทุกครั้งที่เราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มันจะเกิดเซลล์สมองขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นเซลล์อีกประเภทหนึ่งที่สามารถเพิ่มจำนวนได้ด้วยการแบ่งตัว เรียกว่า “กาวประสาท” หรือบางคนเรียกว่า“เซลล์พี่เลี้ยง” (Glial Cells, Nerve Glue หรือ Neuroglia) ทำหน้าที่เชื่อมโยงเซลล์ประสาท ยิ่งเราเรียนรู้มากขึ้นเท่าไร การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น แต่จำนวนเซลล์ประสาทไม่เพิ่มขึ้น วิธีการเพิ่มของมันคือการเพิ่มไซแนปให้กับส่วนที่ต้องใช้งานบ่อยๆ และลดจำนวนไซแนปในส่วนที่ไม่จำเป็นใช้ลง (คือมีทั้งโปรแกรมสร้าง และทำลายส่วนไม่ได้ใช้)
หากจะเปรียบเทียบแต่ละเซลล์สมองเหมือนกับอาณาจักรหนึ่ง ก็อาจพูดได้ว่าเซลล์สมองของคนฉลาดมีสะพาน หรือประตูเข้าออกเมือง สำหรับติดต่อกับคนได้มากกว่าสมองคนที่ไม่ฉลาด ทำให้เมืองเต็มไปด้วยชีวิตชีวา กิจกรรมตลอด ผิดกับเมืองปิดหาทางเข้าออกลำบาก การคมนาคมก็เชื่องช้า
ดังนั้นเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี จะทำให้สะพานสายใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ จำนวนตัวเชื่อมสมองมีได้ไม่มีขีดจำกัด ถ้าพ่อแม่สั่งสอนลูกไม่ดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ “ขาด” ตัวกระตุ้นก็ทำให้ลูกพลาดโอกาสที่จะเป็นเด็กฉลาดไปได้อย่างง่ายดาย
น่าสงสัยไหมว่า....ตอนที่เซลล์แต่ละเซลล์นำข้อมูลไปสู่ใจกลางอาณาจักรของเซลล์ แล้วไปประมวลข้อมูลใหม่ ใครเป็นตัวกำกับ และเซลล์ส่งผ่านข้อมูลเท่านั้นหรือ? มันเก็บไว้บ้างหรือเปล่า? เอดิสันและไอน์สไตน์ เป็นนักคณิตศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ ถ้าสิ่งที่กล่าวข้างบนนี้เป็นความจริงสมองของสองท่านนี้น่าจะมีไซแนป (Synapse) มากกว่าคนอื่น และ “กาวสมอง” ในส่วนของสมองซีกที่ทำหน้าที่คำนวณใช่ไหม? แล้วสมองของนักดนตรีล่ะ จะเป็นอย่างไร สมองของศรีปราชญ์ โมสาร์ต น่าจะทำงานอย่างไร ด้านไหนจะมากกว่าด้านไหน? ไม่ใช่เราเท่านั้นที่อยากจะทราบ นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็อยากทราบ จึงได้ขออนุญาตท่านไอน์สไตน์ว่า “ท่านครับ เวลาท่านตายไปแล้วขอสมองของท่านผ่าดูได้ไหม ว่าทำไมท่านจึงฉลาดกว่าคนอื่นนัก” (เขียนเอง)
ไอน์สไตน์ ผู้เป็นนักปราชญ์ตั้งแต่เด็ก ตายแล้วก็ยังอยากรู้ว่าสมองของคนเป็นอย่างไร จึงอนุญาตให้มหาวิทยาลัยเบรดเลย์ ที่เมืองลอสแองเจลลิส เก็บสมองแช่ไว้ด้วยไนโตรเจนเหลว เก็บไว้หลายสิบปีจนกระทั่งได้ฤกษ์เปิดสมองท่านเมื่อสิบกว่าปีก่อน เพราะวิทยาการสมัยก่อนยังไม่ดีพอที่จะทราบรายละเอียดของการทำงานของสมอง เมื่อนักวิทยาศาสตร์คิดว่ารู้ดีพอก็เอาสมองท่านออกมานั่งศึกษาโดยละเอียด ก็พบว่าท่านมี “กาวสมอง” และไซแนปมากกว่าคนอื่นๆ ในส่วนของสมองที่เกี่ยวกับการคำนวณ! และมีสมองสองจุดที่ทำให้เกิดปัญหา นี่ก็อาจเป็นต้นตอของปัญหาในการเรียนรู้ของท่านในวัยเด็กได้เหมือนกัน ผู้ที่ค้นพบสิ่งนี้คือนักวิทยาศาสตร์ชื่อ ดร.มารีแอน ไดมอนด์ (Dr.Marian Diamond) นี่ก็เป็นข้อพิสูจน์อันหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการกระตุ้นให้เด็ก “รักที่จะเรียนรู้” ไม่ใช่ “รู้มาก”แบบนกแก้ว นกขุนทอง
10 ต.ค. 2566
20 ก.พ. 2566
23 ส.ค. 2567