วัคซีนใหม่.. จำเป็นแค่ไหนกัน?

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

คุณแม่หลายท่าน คงเคยได้ยินชื่อวัคซีนป้องกันโรคแปลกๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรายการวัคซีนพื้นฐานกันมาบ้างใช่ไหมค่ะ บางท่านอาจสงสัย และเป็นกังวลว่า จำเป็นต้องพาลูกน้อยไปรับวัคซีนเหล่านี้หรือไม่ ด้านล่างนี้เป็นตารางรวบรวมข้อมูลแบบเจาะลึกของวัคซีนใหม่ๆ ที่มีผู้นำเข้ามาให้บริการในปัจจุบันนี้ ลองตรวจสอบว่ามีอะไรบ้าง

ตารางวัคซีนเสริม

วัคซีน/อายุราคาต่อเข็มแรกเกิด1 เดือน2 เดือน4 เดือน6 เดือน9 เดือน12 เดือน18 เดือน2-2 ½ ปี4-6 ปี10-12 ปี
ฮิบ400-800

***


   
ไข้หวัดใหญ่200-300



*


  
อีสุกอีใส1,000-1,300หากฉีดหลังอายุ 13 ปี ต้องฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน 
ตับอักเสบ เอ700-1,000ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน */* 
โรต้า2,000+

**



   
ไอพีดี4,000+

****
    



รู้ลึกเรื่องวัคซีนใหม่
เนื่องจากวัคซีนเหล่านี้มีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้นก่อนตัดสินใจว่าจะพาลูกไปฉีด หรือไม่ฉีดดี มาทำความเข้าใจกับรายละเอียดข้อมูลของวัคซีนแต่ละชนิดกันก่อนดีกว่าค่ะ

วัคซีนป้องกันโรคฮิบ (HIB) :  เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ พบในเด็กที่อายุระหว่าง 4 เดือน – 1 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันจากแม่เริ่มลดต่ำลง เชื้อแพร่กระจายผ่านทางระบบหายใจ หรือการไอจามรดกัน

เด็กที่ควรได้รับวัคซีน  : เด็กที่มีโอกาสอยู่ในที่ชุมชนแออัดบ่อยครั้ง เช่น เนิร์สเซอรี่, ห้างสรรพสินค้า, โรงภาพยนตร์ ฯลฯ

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ : เชื้อมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมอยู่ตลอดเวลา มีการแพร่กระจายผ่านทางระบบหายใจ หรือการไอจามรดกัน

เด็กที่ควรได้รับวัคซีน :  เด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือเป็นโรคปอดเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ ไต หรือเด็กที่ต้องกินยาแอสไพรินเป็นประจำ

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส :  เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดแผลพุพองตามตัว มีไข้สูง และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้ โดยทั่วไปแล้ว เด็กเล็กที่เป็นโรคอีสุกอีใสจะหายได้เอง เมื่อหายแล้วจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ข้อดีของการรับวัคซีนคือ ช่วยลดโอกาสเป็นงูสวัดได้ หรือถ้าเป็นก็จะมีอาการน้อยกว่า

เด็กที่ควรได้รับวัคซีน :  ชมรมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทยแนะนำให้ฉีดในเด็กอายุ 10-12 ปี แต่คุณพ่อคุณแม่มีกำลังทรัพย์พอ และคิดว่าจะป้องกัน หรือลดอาการงูสวัดให้ลูกด้วย ก็สามารถฉีดให้ได้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปค่ะ

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ  :  เป็นเชื้อโรคที่แพร่กระจายผ่านทางอาหาร และน้ำดื่ม เมื่อได้รับเชื้อ เด็กจะมีไข้สูง ปวดเมื่อย คลื่นไส้อาเจียน และมีอาการดีซ่านใน 1 สัปดาห์

เด็กที่ควรได้รับวัคซีน : เด็กที่เริ่มเข้าเรียน หรือเข้าเนิร์สเซอรี่ และต้องได้รับอาหารจากศูนย์อาหาร


 
วัคซีนป้องกันโรคไวรัสโรต้า :  เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุหลักของโรคลำไส้อักเสบในทารก และเด็กเล็ก สามารถติดต่อได้ง่าย เพียงแค่สัมผัสโดนสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้ออยู่ เช่น ของเล่น ของใช้ต่างๆ แล้วนำมือ หรือของนั้นเข้าปาก ด้วยเหตุนี้เด็กวัย 2 เดือน ถึง 2 ขวบ จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากที่สุด

เด็กที่ควรได้รับวัคซีน : เด็กที่มีโอกาสอยู่ในที่ชุมชนแออัดบ่อยครั้ง เช่น เนิร์สเซอรี่, ห้างสรรพสินค้า, โรงภาพยนตร์ ฯลฯ

วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี :  เป็นเชื้อที่พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เนื่องจากยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค ความรุนแรงของโรคมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น ระบบประสาท กระแสเลือด หรือทางเดินหายใจ เชื้อนี้จะแพร่กระจายโดยการไอ จาม เช่นเดียวกับโรคหวัด

เด็กที่ควรได้รับวัคซีน : เด็กที่มีโอกาสอยู่ในที่ชุมชนแออัดบ่อยครั้ง เช่น เนิร์สเซอรี่, ห้างสรรพสินค้า, โรงภาพยนตร์ ฯลฯ  และเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่

วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์  :  เนื่องจากปัจจุบันสุขอนามัยของคนไทยดีขึ้น จึงพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดนี้น้อยมาก ดังนั้น วัคซีนชนิดนี้ จึงใช้ในกรณีพิเศษเท่านั้น เช่น ต้องการเดินทางไปยังประเทศ หรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไทยฟอยด์อยู่ เช่น อินเดีย บาหลี เวียดนาม เม็กซิโก เป็นต้น

นอกเหนือจากรายการวัคซีนดังได้กล่าวข้างต้นนี้แล้ว  ปัจจุบันยังมีผู้คิดค้นวิจัยเพื่อผลิตวัคซีนใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพวัคซีนพื้นฐานให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วยค่ะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้