คุณหมอตรวจอะไร เมื่อลูกอายุ 2 เดือน 

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

เมื่อลูกน้อยอายุ 2 เดือนแล้ว การเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและพัฒนาการเริ่มเห็นเด่นชัดขึ้น มาดูกันค่ะว่า หากคุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยวัย 2 เดือนไปรับการตรวจสุขภาพคุณหมอจะตรวจอะไรบ้าง

สิ่งที่คุณหมอจะตรวจสุขภาพลูกน้อย มีดังนี้

1.ชั่งน้ำหนักและวัดความยาว
การชั่งน้ำหนักและวัดความยาวของลูกน้อย  บางครั้งจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าของเจ้าหนูออกเพื่อให้ได้น้ำหนักตัวที่แท้จริง คุณหมอจะวัดความยาวและเส้นรอบวงศีรษะเพื่อคำนวณดูการเจริญเติบโตตามแผนภูมิการเจริญเติบโตของทารกซึ่งแผนภูมิการเจริญเติบโตของทารกจะทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรู้ว่า ลูกเจริญเติบโตไปมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับเด็กในรุ่นราวคราวเดียวกัน

2.การตรวจร่างกายอื่น ๆ  ได้แก่
หัวใจและปอด  : การตรวจหัวใจและปอดคุณหมอจะใช้หูฟังเพื่อตรวจอัตราการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือไม่

ตา :  การตรวจสอบการมองเห็น โดยดูจากลักษะของดวงตา  ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หรือตรวจสอบปัญหาอื่นๆ ที่มักพบ เช่น ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นต้น

หู : การตรวจหูของทารกจะดูในเรื่องการติดเชื้อและตรวจการได้ยินเสียง

ปาก : ตรวจดูสภาพของช่องปากความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น  แผลในปาก ตุ่ม หนองต่างๆ ที่เป็นความผิดปกติ

ศีรษะ : การตรวจศีรษะของทารก คือจะตรวจรูปทรงของศีรษะ ว่ามีรูปทรงที่ปกติหรือไม่  ความอ่อนนุ่มของกระหม่อมอยู่ในภาวะปกติหรือไม่

ร่างกาย : ตรวจสอบผิวหนัง ผดผื่น หรือความผิดปกติอื่น ๆ ของผิวหนังรวมไปถึงการตรวจสอบกล้ามเนื้อของทารกด้วยการดูอาการตอบสนองของกล้ามเนื้อ

ท้อง : คุณหมอจะกดเบาๆ ที่ท้องเพื่อตรวจดูลำไส้หรืออวัยวะในช่องท้องที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น

อวัยวะเพศ : การตรวจอวัยวะเพศเพื่อตรวจดูว่ามีการติดเชื้อหรือมีการอักเสบใด ๆ หรือไม่

สะโพก ขา : คุณหมอจะเลื่อนขาของทารกน้อยไปรอบ เพื่อดูการเชื่อมต่อของสะโพกกับขา

นอกจากการตรวจสุขภาพแล้ว ยังมีในเรื่องของการรับวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม , DTaP,HIP และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ  วัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า และได้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเป็นเข็มที่สอง 

นอกจากนี้คุณหมออาจให้คำแนะนำในการดูแลปัญหาสุขภาพของทารกในด้านอื่น ๆ เช่น กรดไหลย้อน สิวผดผื่น ผื่นผ้าอ้อม เพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่าเด็กในช่วงวัยนี้อาจเจอโรคหรืออาการอะไรบ้างเพื่อคลายความกังวลใจ

คำถามที่คุณหมอมักจะถามคุณพ่อคุณแม่
1.สอบถามเรื่องการนอนหลับของลูกน้อย เพราะทารกในช่วงวัยสองเดือนความยาวนานของการนอนหลับในช่วงกลางคืนอาจลดลงเล็กน้อย แต่จะมานอนหลับในช่วงกลางวันเพิ่มขึ้น  ตามปกติแล้วอัตราเฉลี่ยในการนอนหลับของทารกจะอยู่ที่ 14 – 16 ชั่วโมง / วัน

2.ลูกน้อยสามารถดื่มนมได้เท่าไหร่และบ่อยแค่ไหน เด็กอายุ 2 เดือน ส่วนใหญ่ยังคงกินนมทุก 2 – 3 ชั่วโมง คุณหมอจะถามว่าลูกได้รับนมเพียงพอหรือไม่ รวมไปถึงสูตรการให้นมของคุณแม่ด้วยเพื่อดูว่าเหมาะสมหรือไม่

3.ลักษณะของอุจจาระ สี กลิ่น เพื่อตรวจหาความผิดปกติ หรืออุจาระเป็นเม็ดแสดงว่าลูกกำลังท้องผูก

4.การร้องไห้  ทารกน้อยมีการร้องไห้แบบไหน นอกจากนี้คุณหมอยังแนะนำวิธีการปลอบโยนเมื่อทารกร้องไห้ การร้องไห้ของทารกแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยจะเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 8 

5.การควบคุมศีรษะการหัน ลูกบังคับไปในทิศทางปกติหรือไม่

6.ความแข็งแรงของทารก การทำงานประสานกันระหว่างปลายแขน ซึ่งจะควบคุมได้มากขึ้นตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป และจะเริ่มคงที่เข้าที่เข้าทางเมื่ออายุประมาณ 4 เดือน

7.การตอบสนองด้านการเรียนรู้ การพูดคุย คุณพ่อคุณแม่พุดคุยกับลูกอย่างไร ซึ่งถือเป็นขั้นตอนของการพัฒนาด้านภาษา

8.ลูกยิ้มแล้วหรือยัง ในวัย 2 เดือน ทารกน้อยควรเริ่มยิ้มให้คุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว

9.ดวงตาและการมองเห็นของลูก ให้ดูว่าลูกเริ่มมองไปที่สิ่งต่าง ๆ และจดจ้องมองสิ่งนั้นหรือไม่ ซึ่งคุณหมอมักจะตรวจโครงสร้างของดวงตา การจัดตำแหน่งของตา  ความสามารถในการเคลื่อนย้ายดวงตาและการมองเห็นว่าอยู่ในลักษณะที่เหมาะสมหรือไม่

10.การได้ยินเสียงของลูกน้อยเป็นอย่างไร เมื่อได้ยินเสียงลูกหันไปตามทิศทางของเสียงหรือไม่ หากไม่หันอาจต้องตรวจดูในเรื่องการได้ยินเพื่อค้นหาความผิดปกติ

11.ท่าทางโดยทั่วไปของลูกเป็นอย่างไร ปกติดีหรือไม่ หรือดูอ่อนแอ อ่อนเพลีย หากเป็นเช่นนี้ต้องรีบแจ้งคุณหมอเพราะเป็นสัญญาณของความผิดปกติ

12.ลักษณะของช่องท้องทารกน้อย เมื่อเขาตื่นนอนว่าเป็นอย่างไร รวมไปถึงด้านหลังของศีรษะที่มีลักษณะแบนเล็กน้อย เป็นจุดที่ต้องพึงระมัดระวัง

ได้ทราบกันแล้วนะคะว่าในช่วงวัย 2 เดือนคุณหมอจะตรวจอะไรทารกน้อยบ้าง  อย่างไรก็ตาม การดูแลลูกอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการพูดคุยเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้ามนะคะ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้