Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจประสบปัญหาความไม่มั่นใจ เมื่อลูกเกิดอาการแพ้นมวัว เนื่องจากมักคิดว่าเป็นอาหารทั่วไปที่เด็กสามารถทานได้ และในบางราย กว่าจะวินิจฉัยได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการแพ้นมวัวและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็กินเวลาอยู่นาน และส่วนหนึ่งยังเข้าใจว่า อาการแพ้นมวัว คืออาการเดียวกับที่เด็กๆ แพ้น้ำตาล แลคโตส วันนี้เราลองมาทำความรู้จักอาการแพ้นมวัวให้มากขึ้นนะคะ
อาการแพ้นมวัว (Cow Milk Allergy - CMA) คืออะไร
เมื่อเอ่ยถึงอาการแพ้นมวัว นั่นหมายถึงการที่ระบบ ภูมิคุ้มกันในเด็ก ซึ่งปกติจะทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคและสิ่ง แปลกปลอม เกิดการต่อต้านกับสารโปรตีนในนม (ซึ่งถือว่าเป็น สารทั่วไปที่เด็กสามารถรับได้และไม่เกิดอาการต่อต้านนี้) เมื่อ เด็กๆ ที่แพ้ทานนมเข้าไป ร่างกายที่คิดว่ามีสิ่งแปลกปลอมที่เป็น อันตรายเข้าร่างกายและจะเกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ ทำงานอย่างหนัก ซึ่งจะหลั่งสารหลายตัวที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการ ที่เรียกว่า “อาการแพ้” ออกมาค่ะ ในความเป็นจริงแล้วการแพ้นมวัวจะเป็นคนละอาการกับ การแพ้แลคโตส (Lactose Intolerance) ซึ่งเป็นการที่ร่างกาย ประสบปัญหาในการย่อยและดูดซึมน้ำตาลแลคโตสในนมนะคะ แต่อย่างไรก็ตาม ในเด็กบางคนก็มักพบปัญหาทั้งสองอย่างมา พร้อมกัน เพราะอาการแพ้นมวัวจะทำให้ประสิทธิภาพในการ ดูดซึมแลคโตสลดลงค่ะ
สังเกตอย่างไรเมื่อลูกมีอาการแพ้นมวัว
คุณพ่อคุณแม่ และคุณครู สามารถสังเกตอาการแพ้นมวัวได้เมื่อเด็กๆ มีอาการในระบบทางเดินอาหารได้แก่ ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด ท้องมีเสียงโครกครากและ อาเจียนหลังดื่มนมประมาณ 30 นาทีโดยเฉลี่ย (แต่บางรายอาจจะเกิดหลังจากรับประทานนมไปหลายชั่วโมง หรือหลายวันก็ได้) ซึ่งกลุ่มอาการนี้จะคล้ายกับกลุ่มอาการเมื่อเด็กแพ้แลคโตส แต่จะสามารถแยกออกได้ในเบื้องต้นคือ เด็กที่แพ้นมวัว จะมีอาการในระบบทางเดินอาหารร่วมกับระบบอื่นได้แก่
• อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจติดขัด คัดจมูกน้ำมูกไหล ไอ หายใจหอบ
• อาการทางผิวหนัง เช่นเกิดผื่นแดง ลมพิษ ผิวหนังอักเสบเป็นวงสีแดงมีลักษณะนูนและหนา และบวมบริเวณปากคาง หรือลำคอ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาการแพ้นมวัวอาจจะสามารถสังเกตอาการและเวลาหลังจากรับประทานอาหารได้ยาก หากลูกน้อยเกิดอาการที่เป็นสัญญานบางอย่างที่คุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าจะเป็นการแพ้นมวัว แนะนำให้จดบันทึกส่วนประกอบของอาหาร อาการแพ้ และเวลาหลังจากทานอาหารเมื่ออาการแพ้เกิดขึ้น บันทึกเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยคุณหมอเมื่อทำการวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างดีค่ะ
ควรทำอย่างไรเมื่อลูกแพ้นมวัว
เมื่อคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกแพ้นมวัวจริงๆ ควรพาลูก ไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการวินิจฉัย คุณหมอจะทำการ ทดสอบการแพ้ทางผิวหนัง (Skin Prick Test) หรือตรวจอุจจาระ และเลือดเพื่อวินิจฉัยอาการแพ้
หากคุณหมอวินิจฉัยว่าลูกแพ้นมวัวจริง คุณพ่อคุณแม่ ห้าม ให้ลูกทานนมวัวเข้าไปอีกด้วยเหตุผลว่า “แพ้ก็ต้องทานเข้าไป เยอะๆ จะได้ชนะ” นะคะ และยังไม่ควรเปลี่ยนจากนมวัวมา เป็นนมถั่วเหลืองในทันที โดยปกติแล้ว คุณหมอจะให้เด็กลอง ทานนมพิเศษสำหรับเด็กที่แพ้นมวัว ซึ่งอาจจะเป็นนมที่เป็นสูตร ทำจากถั่วเหลือง หรือนมสูตรพิเศษอื่นๆ ค่ะ
อย่างไรก็ตาม การแพ้นมวัวนี้ เด็กๆ อาจจะไม่ได้แพ้ไปตลอด ส่วนใหญ่แล้วอาจจะกลับมาทานนมปกติได้เมื่อภูมิคุ้มกันมีการ ต่อต้านโปรตีนในนมลดน้อยลง อาการแพ้นมวัวอาจจะลดลง และไม่กลับมาอีก อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้วเด็กๆ ก็มักจะต้อง ทานนมสูตรพิเศษไปเป็นปี และการกลับมาทานนมวัวใหม่อีก ครั้ง ก็ต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของคุณหมอที่ดูแลอย่างใกล้ชิด และค่อยๆปรับกันไป ขอให้คุณพ่อคุณแม่อย่าใจร้อน นอกจาก นี้ ไม่ว่าจะให้ลูกลองทานอาหารเสริมใหม่ใดๆ ควรค่อยๆ ให้ลอง ไปทีละนิดในปริมาณน้อยๆก่อน และลองไปทีละอย่าง และทิ้ง ช่วงห่างกันเป็นเวลาสัก 1 สัปดาห์ แล้วค่อยลองอาหารชนิดใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยจะไม่เกิดอาการแพ้ในภายหลังค่ะ
10 ต.ค. 2566
29 ก.ย. 2566