Pregnant

ข้อต่อกระดูกเชิงกรานของคุณเริ่มขยายออก มดลูกขยายใหญ่ขึ้นจนสร้างปัญหาใหม่ๆ ในสัปดาห์นี้ ศีรษะทารกอาจเคลื่อนลง และมีลำตัวใหญ่จนเท้าชี้ขึ้นไปถึงซี่โครง และยังเป็นแรงกดจนทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บชายโครง ฉะนั้น การนั่งลำตัวตรง จะช่วยลดแรงกดที่ซี่โครงได้ มดลูกจะเบียดเข้าไปในอวัยวะภายใน ....

เมื่อลูกกลับหัวลงแล้ว  คุณจะหายใจคล่องขึ้น แต่จะหลับยากขึ้น เพราะน้ำหนักที่มากทำให้นอนหลับไม่สบาย คุณควรหาเวลางีบหลับในตอนกลางวันบ้าง จะช่วยแก้ปัญหาการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอได้บ้าง ภาวะโลหิตจางลดลงในช่วงนี้ เนื่องจากการผลิตเซลเม็ดเลือดแดงเริ่มมีปริมาณทัดเทียมกับพลาสมา คุณอาจรู้สึกเคลิ้มฝัน และปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น ....

มดลูกหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนอย่างเป็นประจำ และมีจังหวะสม่ำเสมอ คุณแม่จะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูก และค่อยๆ คลายตัวลงมา หลายคนมักเข้าใจว่า อาการหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนของมดลูกนี้ เป็นการเจ็บท้องคลอด แต่ยังไม่ใช่ค่ะ สิ่งที่ต้องระวังในช่วงนี้คือ หากมีของเหลวไหลออกมา ต้องไปพบแพทย์ทันที

มดลูกเบียดเข้าไปในอวัยวะภายใน และมีการคั่งค้างของของเหลว ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดขอด ข้อศอกและนิ้วบวม นอกจากนี้ คุณยังอาจรู้สึกอึดอัด คับข้อง หายใจไม่ออก หรือแม้แต่รับประทานอาหารก็ยังลำบาก ฉะนั้นพยายามรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง ก็จะช่วยบรรเทาอาการลงได้ พักผ่อนให้มากเพียงพอ และอย่านั่งหรือยืนด้วยท่าเดียวเป็นเวลานาน ...

ตอนนี้เจ้าตัวน้อยของคุณอยู่ในท่ากลับหัวเรียบร้อยแล้ว มดลูกของคุณบีบจนศีรษะของเขาเคลื่อนลงมาอยู่ที่บริเวณอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมคลอด อาการปวดบริเวณท้องอันเนื่องมาจากการขยับตัวในพื้นที่แคบของมดลูกหลายสัปดาห์ก่อน07’ค่อยๆ ทุเลาลง คุณจะรู้สึกสบายตัวขึ้น แต่ถ้าเขาอยู่ในท่าก้น ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณจะยังรู้สึกถึงการดิ้นของเขาต่อไปจนกระทั่งใกล้คลอด อย่างไรก็ตามแม้อาการปวดท้องหายไป แต่อาการหายใจติดขัดจะเพิ่มมากขึ้น....

ยิ่งเจ้าหนูรู้สึกอึดอัดกับการที่ขยับตัวได้ลำบากมากขึ้นเท่าไหร่ ร่างกายของเขาก็ยิ่งปล่อยฮอร์โมนที่จะทำให้มดลูกมีการหดรัดตัวมากขึ้นออกมา ปฏิกิริยาทางเคมีเหล่านี้จะเป็นสัญญาณเตือนให้ร่างกายของคุณเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ การตั้งครรภ์ของคุณจะครบเทอมในสัปดาห์นี้แล้ว นั่นหมายความว่าลูกของคุณพร้อมจะเกิดได้ตลอดเวลานับจากนี้ไป เด็กที่เกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ....

ก่อนที่มดลูกจะหดรัดตัวเป็นการเจ็บครรภ์คลอดจริง คุณจะได้ลิ้มลองอาการเจ็บครรภ์เตือน ซึ่งไม่ใช่การหดรัดตัวเป็นก้อนแข็งนูนที่มดลูก การเจ็บครรภ์เตือนจะแรงประมาณเดียวกับการเจ็บครรภ์คลอดจริง แต่การหดรัดตัวไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ และจะหายไปเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย  หากคุณไม่แน่ใจก็สามารถไปพบแพทย์ก่อนกำหนดได้ ระยะสองสัปดาห์ก่อนคลอดทารกจะเคลื่อนศีรษะลงต่ำสู่อุ้งเชิงกรานมากขึ้น ทำให้ท้องของคุณดูเล็กลง....

กระเพาะปัสสาวะถูกกดทับหนักขึ้นไปจากเดิม มดลูกมีการหดรัดตัวแรงขึ้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอ และถี่ขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย นี่คือสัญญาณการคลอดจริง สัญญาณอื่นๆ ได้แก่ ถุงน้ำคร่ำแตก มีของเหลวไหลออกมา มีเลือดไหลออกมา ในระยะนี้ปากมดลูกจะเริ่มบางตัวและเปิดออก เมือกเหนียวที่ปิดปากมดลูกในขณะตั้งครรภ์จะหลุดออกมา แต่อาจยังอยู่ในช่องคลอดโดยจะมีการขับออกภายนอกเมื่อมีน้ำเดินหรือการเจ็บครรภ์จริง

วันที่คุณรอคอยมาถึงแล้ว  คุณอาจเจ็บท้องคลอดขึ้นในวันไหนก็ได้ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายนี้ หลังอาการเจ็บเตือน ซึ่งคุณจะปวดท้องเป็นระยะๆ ถุงน้ำคร่ำจะแตก และมดลูกเกิดการบีบตัว พยายามปฏิบัติตามที่คุณหมอ และพยาบาลแนะนำ ทำจิตใจให้สบาย คอยนึกถึงเจ้าตัวน้อยที่คุณเฝ้ารอคอยเขามาตลอด 9 เดือนเต็ม แล้วคุณจะเกิดความกล้าหาญ พร้อมรับความเจ็บปวดนั้นขึ้นมาได้อย่างเต็มใจ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้